ประเภทของข้อมูลทางสถิติ

ในทางสถิติได้มีการแบ่งข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ทางสถิติ  2 ลักษณะคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) และ ข้อมูลเชิงปริมาณ.

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึงข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ ของตัวอย่างที่เราจะทำการศึกษา ซึ่งส่วนมากแล้วการใช้ข้อมูลประเภทนี้ เราจะเห็นในการทำการวิจัยตลาดมากกว่า ไม่ค่อยเห็นใช้งานในส่วนอุสาหกรรม หรือ ในการวิเคราะห์ขบวนการผลิตมากนัก การวิเคราะห์ข้อมูลพวกนี้ส่วนมากจะใช้เทคนิคการรวมกลุ่ม (Grouping) และใช้ความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยในการแปรความหมาย ตัวอย่างข้อมูลกลุ่มนี้ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษผู้บริโภค เป็นต้น

ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลข (numerical data) ที่แสดงถึงปริมาณ ที่นับได้หรือวัดได้ ข้อมูลเชิงปริมาณก็สามารถ แบ่งได้สองประเภท ด้วยกันคือ ข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง (discrete) คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวน รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร จำนวนบุตรในครอบครัว หรือที่คนในโรงงานคุ้นเคยกันดีก็คือ จุดตำหนิ หรือ จำนวนของเสีย defected เป็นต้น ประเภทที่สองคือข้อมูลที่ต่อเนื่อง (continuous) คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ เช่น ข้อมูลที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดต่างๆ นั่นเอง

ประเภทของข้อมูลเบื้องต้นมีความสำคัญอย่างมากที่เราจะต้องทำความเข้าใจ เพราะการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับประเภทของข้อมูล เช่นการใช้ Chi-Square เราใช้กับข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่อง การทดสอบความแปรปรวน (F-test หรือ ANOVA) เราใช้กับข้อมูลประเภทต่อเนื่องเป็นต้น

New Up Date

Manufacturing Idea © 2008 Template by Dicas Blogger.

TOPO