การทบทวนระเบียบ WEEE & RoHS ของ EU


เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม คณะกรรมาธิการฯ ได้ออกข่าวเผยแพร่ข้อเสนอปรับปรุงระเบียบว่าด้วยเศษซากของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ WEEE ) และระเบียบ RoHS โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอใหม่ได้ปรับปรุงระเบียบ WEEE และ RoHS ให้มีเป้าหมายสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดเก็บสินค้าใช้แล้วเพื่อคืนสภาพให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ของวัสดุ/ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพิ่มความสอดคล้องกับระเบียบอื่นๆ ของ EU มากขึ้น
กว่า 4 ปีแล้วหลังจากที่ระเบียบ WEEE และ RoHS ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ปรากฎรายงานว่า มีเพียงประมาณหนึ่งในสามของเศษซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับการบำบัดสอดคล้องกับข้อกำหนดในระเบียบ ส่วนอีกสองในสามของเศษซากฯ ถูกนำไปทิ้งเป็นขยะ landfill หรือถูกส่งไปยังโรงบำบัดมาตรฐานต่ำทั้งที่อยู่ในและนอกสหภาพยุโรป ทำให้เกิดการรสูญเสียวัตถุดิบทุติยภูมิอันมีคุณค่าไป และเศษซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างพอเพียงซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การค้าผิดกฎหมายไปยังประเทศนอกสหภาพฯ ก็ได้แผ่ขยายมากขึ้น รวมทั้งมีการพบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่ไม่สอดคล้องกับข้อจำกัดในระเบียบ RoHS
วัตถุประสงค์ของข้อเสนอระเบียบที่ปรับปรุงใหม่คือ เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของกฎระเบียบให้ดีขึ้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ และใช้บังคับได้ ขอบเขตและคำนิยามของทั้งสองระเบียบจะชัดเจนขึ้น และมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎระเบียบอื่นๆ เช่น Waste Framework Directive และระเบียบ REACH รวมทั้ง “Marketing of Products” package เสริมสร้างการปฏิบัติและการบังคับใช้ข้อกำหนดปัจจุบันและลดภาระด้านการบริหารงานของภาคธุรกิจ
ข้อเสนอระเบียบ RoHS ที่ปรับปรุงใหม่จะครอบคลุมเพิ่มอีก 2 ประเภทสินค้าคือ เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical device) และอุปกรณ์ในการติดตามผลและการควบคุม (monitoring and control instrument) อีกทั้งจะนำระบบ CE label สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับข้อกำหนดของระเบียบกระทำได้ง่ายขึ้น สำหรับรายชื่อสารที่จัดเป็น “priority substances” ของข้อห่วงกังวลในการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะใช้วิธีการประเมินที่สอดคล้องกับระเบียบ REACH โดยมีความเป็นไปได้ที่สารในรายชื่อดังกล่าวจะถูกห้ามใช้ (ban) ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ คาดว่าสารที่จะถูกเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดและมีโอกาสถูก ban ต่อไป ตามข้อกำหนดในมาตรา 4 (7) (เพิ่มเติมจากข้อจำกัด/การห้ามใช้สารอันตราย ๖ สารเดิม: Lead, Mercury, Cadmium, Hexavalent Chromium, PBB และ PBDE) ดังรายชื่อปรากฏใน Annex III ของข้อเสนอระเบียบ RoHS ที่ปรับปรุงใหม่ มีจำนวน 4 สาร ได้แก่- Hexabromocyclododecane (HBCDD)- Phthalate (DEHP)- Butylbenzylphthalate (BBP)- Dibutylphthalate (DBPด้านกลไกการยกเว้น (exemption) ขอไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ร่างระเบียบใหม่จะอนุญาตระยะเวลาการยกเว้นสูงสุด 4 ปี แทนการทบทวนเป็นเวลา 4 ปีตามข้อกำหนดเดิม โดยให้ร้องขอต่ออายุได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะจัดทำกฎระเบียบการยกเว้นในรายละเอียดเพื่อสร้างความแน่นอนแก่ economic operators และกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการยกเว้นใหม่ให้ครอบคลุมถึงการมีให้ใช้และความไว้วางใจได้ในการใช้สารทดแทน (availability and reliability of substitutes) รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมด้วย
ข้อเสนอระเบียบ WEEE ที่ปรับปรุงใหม่ กำหนดเป้าหมายใหม่สำหรับการเก็บรวบรวมเศษซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป้าหมายปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 4 กก/คน/ปี ยังไม่สะท้อนสถานการณ์ที่ถูกต้องในประเทศสมาชิกสหภาพ โดยประเทศที่มีการบริโภคเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวางควรมีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมากกว่าประเทศที่มีตลาดเล็กกว่า คณะกรรมาธิการฯ จึงได้เสนอเป้าหมายการเก็บรวบรวมเศษซากไว้ที่ 65% ของน้ำหนักเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ครื่องใช้ไฟฟ้าและะอิเล็กทรอนิกส์ที่วางจำหน่ายในตลาดแต่ละประเทศสมาชิกในช่วงสองปีก่อนหน้า โดยให้เริ่มการบรรลุเป้าหมายที่อัตราใหม่นี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 เป็นต้นไป โดยรัฐสภาและคณะมนตรียุโรปจะพิจารณาเป้าหมายที่อัตรานี้อีกครั้งในปี ค.ศ. 2012 เพื่อกำหนดเป้าหมายสำหรับการแยกเก็บเศษซากอุปกรณ์ทำความเย็นและอุปกรณ์เครื่องแช่แข็งต่างหาก ส่วนเป้าหมายการคืนสภาพ (recovery) การนำกลับมาใช้ใหม่ (recycling) ซึ่งจะรวมถึงการนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก (reuse) ของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะเพิ่มขึ้น 5% รวมทั้งจะมีข้อเสนอให้ตั้งเป้าหมายการคืนสภาพ (recovery) เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical device) ด้วยเช่นเดียวกับเป้าหมายสำหรับอุปกรณ์ในการติดตามผลและการควบคุม (category 9 appliance)
รายละเอียดข่าวคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการทบทวนระเบียบ WEEE และ RoHS สามารถดูทางเว็ปไซท์ http://ec.europa.eu/environment/waste/weee/index_en.htm) ร่างข้อเสนอระเบียบ WEEE ฉบับใหม่ที่ http://ec.europa.eu/environment/waste/weee/pdf/com_2008_810.pdf และร่างข้อเสนอระเบียบ RoHS ฉบับใหม่ที่ http://ec.europa.eu/environment/waste/weee/pdf/com_2008_809.pdf
อนึ่ง ข้อเสนอปรับปรุงระเบียบ WEEE และ RoHS ยังต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและคณะมนตรียุโรป ก่อนประกาศให้มีผลใช้บังคับ ซึ่ง คาดว่า การพิจารณาดังกล่าวจะเกิดขึ้น ภายหลังการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภายุโรป ในเดือนมิถุนายน ปีหน้า เสร็จเรียบร้อยแล้ว

Thaibe.net

เอาอีกแล้ว EU!!

Non-Tax Barrier

"คณะกรรมาธิการยุโรป โดย DG SANCO ที่ดูแลผู้บริโภคได้แจ้งเรื่องการห้ามใช้สาร Dimethylfumarate (DMF) ในสินค้า consumer products ที่วางขายในสหภาพยุโรป สรุปได้ดังนี้

1. กรณีที่ตรวจพบในสหภาพฯ จนถึงปัจจุบัน คือสาร DMF บรรจุในถุงขนาดเล็ก โดยเฉพาะที่อยู่ในเฟอร์นิเจอร์และกล่องรองเท้าเพื่อฆ่าเชื้อราที่จะทำลายสินค้าในช่วงการขนส่งและการเก็บรักษาในที่มีอากาศชื้น และคาดว่าผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไทยอาจมีการใช้สารดังกล่าว

2. แจ้งสถานะของเรื่องนี้ว่า เมื่อวันที่ 29 มกราคม ศกนี้ ประเทศสมาชิกสหภาพฯ ได้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบประกาศร่างการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรป ภายใต้คำสั่งว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าทั่วไป (General Product Safety 2001/95/EC) ห้ามการใช้สาร DMF ในสินค้า consumers products เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำตอบถาวรภายใต้ระเบียบ REACH ในเรื่องนี้

3. สาระสำคัญของร่างการตัดสินใจดังกล่าว คือ
- สาร DMF ในสินค้า consumers products ก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพผู้บริโภค
- เบลเยี่ยม สเปน และฝรั่งเศส ได้ออกกฎหมายระดับชาติ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงในเรื่องนี้แล้ว
- ยังไม่มีการอนุญาตในสหภาพฯ ให้ใช้สาร DMF ในผลิตภัณฑ์ควบคุม/ฆ่าเชื้อรา (biocidal products) ดังนั้น การพบสาร DMF ในสินค้า consumer product ใดๆ ก็ตาม ถือว่าผิดกฎหมาย EU
- จากเหตุผลข้างต้น สินค้า consumer product ที่วางขายในตลาด EU รวมทั้งสินค้านำเข้า จึงไม่ควรมีสาร DMF โดยใช้เกณฑ์ความเข้มข้นสูงสุดต้องไม่เกิน 0.1 mg/kg
- ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 (ค.ศ.2009) เป็นต้นไป ประเทศสมาชิก ควรจะแน่ใจว่าไม่มีสินค้า consumer product ที่มีสาร DMF วางจำหน่ายในตลาด EU และถอนสินค้าวางจำหน่ายที่มีสารดังกล่าวอยู่ ออกจากตลาด และเรียกคืนจากผู้บริโภค

4. ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยพิจารณาดำเนินการที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการไทยทราบและปฏิบัติให้สอดคล้องตามประกาศดังกล่าว "

Dimethyl fumarate คืออะไร


ตามที่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เคยรายงานข่าวเกี่ยวกับข้อตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการห้ามการใช้สารประเภท Dimethyl Fumarate (DMF) ในผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และรองเท้าในประเทศสมาชิกอียูบางประเทศ เนื่องจากก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ตามที่ได้รับแจ้งข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และต่อมาได้มีผู้ประกอบการไทยหลายรายได้ติดต่อสอบถามเข้ามายังกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการห้ามใช้สาร DMF ดังกล่าว โดยขอทราบว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่สินค้าของบริษัทได้ เนื่องจากบริษัทของตนประสบปัญหาในการส่งออกสินค้าที่มีส่วนประกอบของสาร DMF ไปยังประเทศสมาชิกอียูบางประเทศ นั้น

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จึงขอแจ้งรายชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกใบรับรองเกี่ยวกับการห้ามใช้สาร DMF (Dimethyl fumarate) ในสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ได้แก่
1. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 02 201 7233

2. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โทรศัพท์ 02 589 0022

3. นอกจากนี้ ยังมี Lab ของเอกชนซึ่งได้รับการรับรองจาก EU และสามารถออกใบรับรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการนำเข้าสินค้าไทยต่อไป เช่น บริษัท SGS ติดต่อ 02 683 0541 ต่อ 2129

อนึ่ง ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบการห้ามใช้สาร DMF ได้ที่

สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 02 547 4734

(อนุเคราะห์ข้อมูลโดยกองยุโรป 1 กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ)

Maintenance Strategy

Maintenance Strategy

กลยุทธ์การบำรุงรักษา เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารการบำรุงรักษา (Maintenance Management) เป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะปฏิบัติ ลำดับของการปฏิบัติ การวัดผลความสำเร็จของการปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม เชื่อมโยงกันไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงเป้าหมายสูงสุดด้านการบำรุงรักษาขององค์กร

Source : tpmconsulting.org

Maintenance Materials

Maintenance Materials

วัสดุซ่อมบำรุง ประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษาที่ต้องทำการแบ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นขั้นแรกของการบริหารและควบคุมอะไหล่ ด้วยแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุด การแบ่งประเภทดังกล่าว เป็นดังต่อไปนี้ 1) อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนปกติ ตามคาบเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน 2) อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับความต้องการฉุกเฉินหรือฉับพลัน 3) อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่ต้องสำรองไว้ตลอดเวลาในสต๊อก 4) อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ไม่ว่าจะกับเครื่องเดิมหรือเครื่องอื่น ที่โดยปกติเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายซ่อมบำรุง และ 5) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา

Source : tpmconsulting.org

Maintenance Management

Maintenance Management

การบริหารงานซ่อมบำรุง เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของฝ่ายซ่อมบำรุงในที่มีการบำรุงรักษาอย่างมีแบบแผน (Planned Maintenance) โดยกิจกรรมการบำรุงรักษาต่างๆที่เป็นเชิงบริหาร (เช่นการบริหารของคงคลัง (Inventory) การบริหารข้อมูล การตรวจประเมิน เป็นต้น) มีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยในการบำรุงรักษา (Maintenance Input) หรือเพื่อปรับปรุงค่า MTBM และ MTTM และต้องเข้าใจว่าการบริหารงานซ่อมบำรุงมีขึ้นเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาโดยยึดความไว้วางใจได้เป็นศูนย์กลาง (RCM) ให้เป็นไปด้วยความราบลื่น และความราบลื่นของ RCM นี่เอง จะทำให้การผลิตหรือการปฏิบัติการขององค์กรเป็นไปด้วยความราบลื่นเช่นกัน สืบไป

Source : tpmconsulting.org

Maintenance Formula

Maintenance Formula

สูตรการบำรุงรักษา เป็นสิ่งที่ได้จากการค้นหาวิธีการหรือรูปแบบการบำรุงรักษาที่มีวิวัฒนาการ (Maintenance Evolution) มาตามลำดับ ประกอบไปด้วย การบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง (Breakdown Maintenance: BM) การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance: CM) และ การป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Prevention: MP)


Source : tpmconsulting.org

Maintenance Engineering

Maintenance Engineering

วิศวกรรมการซ่อมบำรุง เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของฝ่ายซ่อมบำรุงในที่มีการบำรุงรักษาอย่างมีแบบแผน (Planned Maintenance) โดยกิจกรรมการบำรุงรักษาต่างๆที่เป็นเชิงวิศวกรรม (เช่นการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน การใช้วัสดุบางชนิดมาผูกติดเพื่อลดการกัดกร่อน การหาความน่าจะเป็นในการเกิดความเสียหาย เป็นต้น) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ในการบำรุงรักษา (Maintenance Output) หรือเพื่อปรับปรุงค่า MTBF และ MTTR หรือบางครั้งเป็นตัวเดียวกับ การบำรุงรักษาโดยยึดความไว้วางใจได้เป็นศูนย์กลาง (RCM)

Source : tpmconsulting.org

Maintenance

Maintenance

การบำรุงรักษา หรือ การซ่อมบำรุง
การรวมกันของเทคนิค การบริหาร และการจัดการ ที่กระทำต่อเครื่องจักรอุปกรณ์ในห้วงที่ยังต้องให้บริการเพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร ประกอบไปด้วยความพยายามในการดำรงไว้ซึ่งสภาพที่เหมือนใหม่ และการกลับสู่สภาพปกติได้เร็วที่สุดหากชำรุดเสียหาย
กิจกรรมใดๆ เพื่อซ่อม เพื่อความมั่นใจว่าเครื่องจักรอุปกรณ์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ หรือเพื่อป้องกันความเสียหาย (Failure) และผลที่ตามมาจากความเสียหาย (Failure Consequences

Source : tpmconsulting.org

Maintainability

Maintainability

ความสามารถในการบำรุงรักษา
ความสามารถในการแก้ไขให้เครื่องจักรกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็วภายหลังการเสียหาย
ความพร้อมสรรพของทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุง เช่น คน ชิ้นส่วน อะไหล่ เครื่องมือ คู่มือ องค์ความรู้ เป็นต้น

Source : tpmconsulting.org

Machine Cycle Time

Machine Cycle Time

เวลาต่อรอบการผลิตของเครื่องจักร เป็นเวลาที่เครื่องจักรใช้เพื่อการผลิตชิ้นงานจำนวนหนึ่งหน่วย เช่นการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติก เวลาต่อรอบการผลิตของเครื่องฉีดพลาสติกคือเวลาตั้งแต่แม่พิมพ์ปิดจนกระทั้งแม่พิมพ์เปิดมาอีกครั้งโดยมีชิ้นงานอยู่ภายใน


Source : tpmconsulting.org

Lubrication Management

Lubrication Management

กิจกรรมต่างๆดังกล่าว ประกอบด้วย
กำหนดกลยุทธ์การหล่อลื่น "ทำที่ไหน เวลาใด"
กำหนดแผนในการปรับปรุงการหล่อลื่น "โครงการ"
วางแผนการใช้และสรรหาทรัพยากร: คน เครื่องมือ ซอฟแวร์ เป็นต้น
กำหนดแผนการหล่อลื่น: เลือกเครื่องจักร จัดตาราง กำหนดเส้นทาง กำหนดเวลาหยุดเครื่องที่ห้ามเกิน เป็นต้น
จัดทำระบบฐานข้อมูลและรายงานการหล่อลื่น
จัดทำคู่มือความปลอดภัยในการหล่อลื่น และคู่มือผลกระทบของการสารหล่อลื่นต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
กำหนดปริมาณการใช้และการจัดเก็บสารหล่อลื่นเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด (Optimizing)
ลงมือปฏิบัติ-ต้องมั่นใจว่าแผนและคู่มือต่างๆ ถูกปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด


Source : tpmconsulting.org

Loading Time

Loading Time

เวลารับภาระงาน เป็นเวลาของเครื่องจักรที่จัดเตรียมไว้เพื่อการผลิตให้ได้จำนวนตามเป้าหมาย โดยไม่รวมเวลาหยุดตามแผนของเครื่องจักร (Planned Shutdown) และเวลานี้สามารถเป็นเวลาเดินเครื่อง (Operation Time) ได้ทั้งหมดหากไม่มีเวลาที่เครื่องจักรหยุดที่นอกเหนือจากเวลาหยุดตามแผน (Shutdown Losses)

Source : tpmconsulting.org

LCC (Life Cycle Cost)

LCC (Life Cycle Cost)

ค่าใช้จ่ายตลอดวงชีวิตของเครื่องจักร เป็นค่าใช้จ่ายที่ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายในการกำจัดรื้อถอนเมื่อเลิกใช้งาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ หรือเลือกซื้อ กล่าวคือการออกแบบหรือเลือกซื้อเครื่องจักร ควรให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายตลอดวงชีวิตของเครื่องจักร ไม่ควรพิจารณาเฉพาะเครื่องจักรที่มีราคาถูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

Source : tpmconsulting.org

KM (Knowledge Management)

KM (Knowledge Management)

การจัดการความรู้
1) เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ (นิยามจาก World Bank)
2) เป็นกลยุทธ์และกระบวนการในการ จำแนก จัดหา และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (นิยามจาก European Foundation for Quality Management (EFQM))

Source : tpmconsulting.org

KBS (Knowledge-Based Systems)

KBS (Knowledge-Based Systems)

ระบบซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจในภารกิจที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางอย่างมาก (เช่น การหาความน่าจะเป็นในการเกิดความเสียหายถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้ของเครื่องจักร) และระบบดังกล่าวมักจะสร้างมาจากตัวแบบ (Model) ที่ได้มาจากการพิสูจน์ทราบจนน่าเชื่อถือ

Source : tpmconsulting.org

Kaizen Method

Kaizen Method

วิธีการปรับปรุงโดยอาศัยแนวคิดจากผู้ที่อยู่หน้างาน เป็นแนวคิดจากอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น เป็นการปรับปรุงที่ไม่เน้นขนาดของการปรับปรุง แต่เน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ให้มีโอกาสในการปรับปรุงงานของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง นอกจากนั้น Kaizen ยังถือเป็นแนวคิดที่สำคัญที่นำมาอุตสาหกรรมมาอยู่ในแถวหน้าของโลก

Source : tpmconsulting.org

Inventory Management

Inventory Management

การบริหารของคงคลัง เป็นกิจกรรมต่างๆเพื่อจัดความสมดุลระหว่างการมีใช้ตลอดเวลาที่ต้องการ กับการลดต้นทุนจมจากการคงคลัง ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากว่าการมีใช้ตลอดเวลาจะนำมาซึ่งการคงคลังจำนวนมาก ในขณะที่ความพยายามในการลดต้นทุนก็จะนำมาซึ่งการขาดแคลน

Source : tpmconsulting.org

Inventory

Inventory

ของคงคลัง
1) ในการบริหารการผลิต เป็นความสูญเสีย (Wastes) เนื่องจากไม่มีการบริหารการผลิตภายใต้แนวคิด Lean หรือ Just in time ของคงคลังประกอบด้วย วัสดุซ่อมบำรุง วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป และงานระหว่างทำ
2) ในการบริหารวัสดุซ่อมบำรุง ของคงคลังประกอบด้วย อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนปกติ อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับความต้องการฉุกเฉินหรือฉับพลัน อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่ต้องสำรองไว้ตลอดเวลาในสต๊อก อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ และ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ใน การบำรุงรักษา

Source : tpmconsulting.org

Internal Failure Cost

Internal Failure Cost

ต้นทุนเพื่อแก้ไขภายใน เมื่อของเสียยังไม่ไปถึงมือลูกค้าเช่น ค่าวัตถุดิบที่เสียไป การแก้ไขหรือทำงานซ้ำ การซ่อมแซมกระบวนการ การลดเกรดสินค้า เป็นต้น ต้นทุนเพื่อแก้ไขภายในนี้ เป็นหนึ่งในต้นทุนเพื่อแก้ไขเมื่อเกิดชิ้นงานที่ไม่ได้คุณภาพ (Cost of Non-Conformance) ในการคำนวณต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality

Source : tpmconsulting.org

Inspector

Inspector

บุคคล (หรือคณะบุคคล) ผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการตรวจสอบเครื่องจักร โดยปกติจะเป็นบุคลากรของฝ่ายซ่อมบำรุง แต่ใน TPM ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบนี้ ต้องรวมถึงผู้ใช้เครื่องจักรด้วย ตามเงื่อนไขของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

Source : tpmconsulting.org

Inspection Cleaning

Inspection Cleaning

การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ เป็นการปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานที่ดีของการบำรุงรักษาและเป็นขั้นตอนที่หนึ่งของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) โดยความหมายคือ ในขณะที่ทำการตรวจสอบ ต้องทำการตรวจสอบไปด้วย อย่างน้อยเพื่อการค้นหาและบันทึก จุดผิดปกติ (Abnormality) จุดยากลำบาก (Difficult Work Area) และแหล่งกำเนิดปัญหา (Source of Contamination)

Source : tpmconsulting.org

Inspection

Inspection

การตรวจสอบอย่างละเอียด ประกอบด้วยการตรวจสอบตามคาบเวลาที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า (Frequency of Inspection) เพื่อหวังผลด้านการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และตรวจสอบเฉพาะกิจ (การตรวจสอบเพื่อรับทราบสภาพปัจจุบันของเครื่องจักร การตรวจสอบเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับเครื่องจักร และการตรวจสอบภายหลังการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับเครื่องจักร)

Source : tpmconsulting.org

Initial Phase Management

Initial Phase Management

การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นของการออกแบบหรือตั้งแต่เริ่มแรก เป็นหนึ่งในแปดเสาหลัก (TPM Eight Pillars) ของการดำเนินการ TPM ประกอบด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เอื้ออำนวยต่อการบำรุงรักษา การออกแบบ พัฒนา หรือเลือกซื้อเครื่องจักรที่ง่าย มีคุณภาพ บำรุงรักษาง่าย และไว้วางใจได้ และการศึกษาต้นทุนตลอดวงชีวิตของเครื่องจักร โดยทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Prevention)

Source : tpmconsulting.org

Inefficient Method

Inefficient Method

วิธีการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ หนึ่งในความสูญเสียในกระบวนการผลิต (Wastes) ที่ไม่มีการบริหารการผลิตภายใต้แนวคิด Lean หรือ Just in time เช่นการทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น ลำดับงานไม่เหมาะสมและ ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เสียเวลากับการเตรียมและการผลิตที่ไม่จำเป็น การใช้เครื่องจักรโดยไม่เกิดประโยชน์

Source : tpmconsulting.org

Infant Mortality

Infant Mortality

ความน่าจะเป็นในการเกิดความเสียหายถึงขั้นใช้งานไม่ได้ในช่วงต้น เป็นช่วงแรกของคุณลักษณะความเสียหายแบบ E (E-Type Failure Characteristic) คือเป็นเส้นโค้งรูปอ่าง (Bathtub curve) ที่แสดงให้เห็นว่าโอกาสในการชำรุดมีสูงในช่วงต้น และตามมาด้วยความน่าจะเป็นในการเกิดความเสียหายคงที่หรือค่อยๆเพิ่มขึ้น จนบริเวณที่เกิดการชำรุดปรากฏชัด และนำมาซึ่งการจำกัดอายุการใช้งาน โดยช่วงก่อนการชำรุดปรากฏชัดนั้นเป็นช่วงที่ยาว


Source : tpmconsulting.org

Individual Order

Individual Order

การสั่งซื้อซื้อเฉพาะรายการ หนึ่งในวิธีการสั่งซื้อ (Ordering Method) วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance Material) เป็นสั่งซื้อเฉพาะรายการ ปริมาณ และเวลาที่ต้องการเท่านั้น

Source : tpmconsulting.org

External Failure Cost

External Failure Cost

ต้นทุนเพื่อแก้ไขภายนอก เมื่อของเสียไปถึงมือลูกค้าเรียบร้อยแล้ว เช่นการเรียกร้องค่าเสียหายของลูกค้า การเก็บสินค้าคืนจากท้องตลาด การลงทุนเพื่อกู้ภาพลักษณ์ เป็นต้น ต้นทุนเพื่อแก้ไขภายนอกนี้ เป็นหนึ่งในต้นทุนเพื่อแก้ไขเมื่อเกิดชิ้นงานที่ไม่ได้คุณภาพ (Cost of Non-Conformance) ในการคำนวณต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality)

Source : tpmconsulting.org

Downtime

Downtime

เวลาที่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้
1) เวลาที่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากความเสียหาย (Failure) โดยไม่รวมถึงเวลาที่เครื่องจักรพร้อมใช้งาน แต่ไม่ได้ถูกใช้
2) เวลาที่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากถูกปฏิบัติการบำรุงรักษา (ทั้งเพื่อแก้ไขและเพื่อป้องกัน) โดยรวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเวลาในการซ่อม เวลาในการรออะไหล่ หรอเวลาในการรอพนักงาน

Source : tpmconsulting.org

Capacity Losses

Capacity Losses

ความสูญเสียด้านกำลังการผลิต ที่มาจากเหตุการณ์หรือสาเหตุใดๆก็ตามที่ทำให้ เครื่องจักรเสียความเร็ว (Speed Loss) เกิดการปรับแต่ง (Adjustment) ภายหลังการเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Setup) และการหยุดเล็กๆน้อยๆ ของเครื่องจักร (Minor Stoppage) ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency) ต่ำ และทำให้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) ต่ำในที่สุด

Source : tpmconsulting.org

Idle Time

Idle Time

เวลาสูญเปล่าหรือเวลารอคอย หนึ่งในความสูญเสียในกระบวนการผลิต (Wastes) ที่ไม่มีการบริหารการผลิตภายใต้แนวคิด Lean หรือ Just in time เช่นเครื่องจักรรอวัสดุ รอซ่อม หรือ พนักงานรอวัสดุ อุปกรณ์ คำสั่งผลิต และมีความสูญเสียเกิดขึ้นรูปของ ต้นทุนสูญเปล่า เสียโอกาสในการผลิตสินค้า เกิดปัญหาเรื่องขวัญกำลังใจระหว่างพนักงาน

source : tpmconsulting.org

HSE (Health, Safety & Environment)

HSE (Health, Safety & Environment)

ความรับผิดชอบหรือหน่วยงานที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ภายในโรงงาน หรือบางครั้งย่อมาจาก Health and Safety Executive ซึ่งหมายถึงผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพจากการทำงานของพนักงาน สำหรับใน TPM แล้ว HSE เป็นหนึ่งในแปดเสาหลัก

source : tpmconsulting.org

Functional Teams

Functional Teams

ทีมตามสายงาน (สมาชิกทั้งหมดในทีมมาจากหน่วยงานเดียวกัน) เพื่อการแก้ปัญหาแบบเป็นทีม (Team Based Problem Solving) สำหรับปัญหาที่มีสาเหตุมาจากภายในหน่วยงานของตนเอง เช่นกิจกรรมกลุ่มย่อยของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance Small-group Activity)

source : tpmconsulting.org

Function Failure

Function Failure

การทำงานที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ของส่วนประกอบย่อยต่างๆในเครื่องจักรหรือระบบ ซึ่งมีได้หลากหลาย และอาจทำให้เกิดความล้มของสมรรถนะที่คาดหวังของเครื่องจักรหรือระบบ (Function Failure) ในทันที่ หรือในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการแก้ไขได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของสมรรถนะดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้ ถ้าส่วนประกอบย่อยต่างๆเกิดความผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์หลายจุดและส่งผลร่วมกัน แม้ว่าความความผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์จุดใดจุดหนึ่งเพียงลำพังจะไม่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบได้ก็ตาม


source : tpmconsulting.org

Frequency of Inspection

Frequency of Inspection

ความถี่ของการตรวจสอบเครื่องจักรอย่างละเอียด ที่กำหนดตามความเหมาะสมของเครื่องจักรแต่ละประเภทและการใช้งาน เช่น ทุกๆปี (Annually) ทุกๆไตรมาส (Quarterly) ทุกๆเดือน (Monthly) ทุกๆสัปดาห์ (Weekly) ทุกๆวัน (Daily) ทุกๆกะ (Shift) หรือทุกๆครั้งที่การผลิตครบสองพันชิ้น เป็นต้น ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance

source : tpmconsulting.org

Frequency-Based Model Selection

Frequency-Based Model Selection

การเลือกเครื่องจักรต้นแบบจากความถี่ของการเกิดความเสียหายถึงขั้นใช้งานไม่ได้ (Breakdown) กล่าวคือ ในการดำเนินการ TPM ขนาดของการดำเนินการดำเนินการที่เป็นที่นิยมอย่างหนึ่งคือ การเริ่มที่เครื่องจักรต้นแบบก่อน เพื่ออาศัยเป็นที่เรียนรู้และสร้างความชำนาญ จากนั้นจึงขยายผลออกไปในวงกว้าง และหนึ่งในวิธีการเลือกเครื่องจักรต้นแบบก็คือ การเลือกจากความถี่ของการเกิดความเสียหายถึงขั้นใช้งานไม่ได้ นี่เอง และยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ การเลือกจากเวลาหยุดของเครื่องเนื่องจากการเกิดความเสียหายถึงขั้นใช้งานไม่ได้ (Time-Based Model Selection)


source : tpmconsulting.org

Focused Improvement

Focused Improvement

1) การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Kobetsu Kaizen หรือ Individual Improvement) เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เป็นหนึ่งในเสาหลักของการดำเนินการ TPM ที่ต้องดำเนินการไปอย่างสอดประสานกับอีกสองเสาหลักคือ Autonomous Maintenance (AM) หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเองของฝ่ายผลิต กับ Planned Maintenance หรือการบำรุงรักษาตามแผนของฝ่ายซ่อมบำรุง
2) การปรับปรุงเป็นเรื่องๆ อย่างเข้มเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทางที่ดี หวังผลทางจิตวิทยาให้ทุกคนประจักษ์และปรารถนาที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มใจ ในการดำเนินการ TPM

source : tpmconsulting.org

Appraisal Cost

Appraisal Cost

ต้นทุนการประเมิน เช่น ต้นทุนในการทดสอบและตรวจสอบ ต้นทุนในอุปกรณ์การทดสอบ ต้นทุนในบุคลากรผู้ทำการทดสอบ เป็นต้น เป็นหนึ่งในต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) ในหมวดของต้นทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งชิ้นงานที่มีคุณภาพ ตรงต่อความต้องการของลูกค้า (Cost of Conformance

source : tpmconsulting.org

Big-Losses

Big-Losses

ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ 6 ประการ เป็นความสูญเสียที่ทำให้การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร (Machine Productivity) ประกอบด้วย
เครื่องเสีย (Failure) ถึงขั้นต้องหยุด
การตั้งเครื่องและปรับแต่ง (Setup and Adjustment)
ช่วงเวลาเริ่ม (ลอง) เครื่อง (Start-up)
เครื่องหยุดเล็กๆน้อยๆ (Minor Stoppage)
ไม่สามารถเดินเครื่องเร็วได้ (Speed Loss)
งานเสียหรือต้องกลับไปแก้ไข (Defect and Rework)

source : tpmconsulting.org

Cancel, Concurrent, Compress, Consolidate, Change

5 C (Process Improvement) (Cancel, Concurrent, Compress, Consolidate, Change)

หลัก 5 ประการในการพิจารณาเพื่อปรับปรุงกระบวนการ Cancel หมายถึง การยกเลิกขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็น หรือไม่ทันยุคสมัย Concurrent หมายถึง การทำงานในขั้นตอนต่างๆให้ขนานหรือทำพร้อมกันให้ได้มากขึ้นเพื่อลดเวลารวมของทั้งกระบวนการ Compress หมายถึง การบีบบังคับให้แต่ละขั้นตอนใช้เวลาน้อยลง Consolidate หมายถึง การหลอมรวมขั้นตอนบางขั้นตอนเข้าด้วยกัน และ Change หมายถึง การเปลี่ยนเนื้อหา หรือวิธีการในบางขั้นตอน ที่จะทำให้ภาพรวมดีขึ้น

source : tpmconsulting.org

FMEA (Failure Mode & Effect Analysis)


FMEA (Failure Mode & Effect Analysis)
การวิเคราะห์วิถีการเกิดความเสียหายและผล เป็นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเมื่อเกิดความเสียหาย ว่ามีวิถีการเกิดอย่างไรและผลจากความเสียหายนั้นๆคืออะไร ซึ่งเป็นได้ทั้งการวิเคราะห์ในระดับชิ้นส่วนหรือระดับองค์รวมของทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์มีอยู่สองแบบคือ วิเคราะห์จากเหตุไปหาผล (bottom up) หรือเรียกว่าการวิเคราะห์กลไกและหลักการทำงาน (Hardware Analysis) และการวิเคราะห์จากผลมาหาเหตุ (top down) หรือเรียกว่าการวิเคราะห์สมรรถนะการใช้งาน (Function Analysis) โดยที่การวิเคราะห์ทั้งสองแบบมีเป้าหมายเหมือนกันคือ การหาเหตุและผลของความเสียหาย เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ป้องกัน และปรับปรุงต่อไป

Cross Functional Teams


Cross Functional Teams
ทีมข้ามสายงาน (ในทีมมีสมาชิกที่มาจากหลายหน่วยงาน) เพื่อการแก้ปัญหาแบบเป็นทีม (Team Based Problem Solving) สำหรับปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากหลายหน่วยงาน แต่ก็ไม่ได้ปรากฏชัด และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปจัดการด้วยทีมของตนเอง (Functional Team

Criticality Analysis


Criticality Analysis
การวิเคราะห์ความวิกฤต เป็นวิธีเพื่อตรวจหาและทำความเข้าใจความวิกฤตที่เกิดขึ้นกับกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญและดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาให้เหมาะสมต่อไป หรืออาจหมายถึงเพื่อการเปลี่ยนแปลงแบบ (Design) ในบางครั้ง

Cpk ค่าความสามารถของกระบวนการ


Cpk
ค่าความสามารถของกระบวนการ เป็นค่าเชิงสถิติ บ่งบอกผลการเปรียบเทียบระหว่างความผันแปรของกระบวนการกับความผันแปรที่ยอมให้ตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ออกแบบไว้ กล่าวคือค่าความสามารถของกระบวนการ (Cpk) จะมีค่าเท่ากับ 1 เมือความผันแปรของกระบวนการเท่ากับความผันแปรที่ยอมให้ตามข้อกำหนดทางเทคนิค จะมีค่ามากกว่าหนึ่งเมื่อความผันแปรของกระบวนการดีกว่าความผันแปรที่ยอมให้ตามข้อกำหนดทางเทคนิค และ จะมีค่าน้อยกว่าหนึ่งเมื่อความผันแปรของกระบวนการแย่กว่าความผันแปรที่ยอมให้ตามข้อกำหนดทางเทคนิค สำหรับในการดำเนินการ TPM ค่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดความสำเร็จของเสาหลัก การบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)

Autonomous Maintenance:การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง


AM (Autonomous Maintenance)
ความสามารของฝ่ายผลิตในการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) โดยการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะของพนักงานผู้ใช้เครื่องให้สามารถปกป้องและดูและเครื่องจักรของตนเองได้ โดยดำเนินการในลักษณะของกิจกรรมกลุ่ม (Small-group activities) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 : การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ (Inspection Cleaning)
ขั้นตอนที่ 2 : การกำจัดจุดยากลำบากและแหล่งกำเนิดปัญหา (Difficult Work Area & Source of Contamination)
ขั้นตอนที่ 3 : การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น (Basic Standard)
ขั้นตอนที่ 4 : การอบรม ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบและกลไกต่างๆของเครื่อง
ขั้นตอนที่ 5 : การตรวจสอบเชิงลึก (Diagnosis) ด้วยตนเอง (Autonomous Inspection)
ขั้นตอนที่ 6 : การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองที่ครบถ้วนสมบูรณ์
ขั้นตอนที่ 7 : การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement

Accessibility (Machine Accessibility)


Accessibility (Machine Accessibility)
ความสามารถในการเข้าถึงเครื่องจักร หรือสภาพเครื่องจักรที่ส่งเสริมให้การเข้าถึงทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปใช้งานหรือปรับตั้งค่าต่างๆ การเข้าไปทำการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐาน (ทำความสะอาด หล่อลื่น ขันแน่น (Basic Condition)) การเข้าไปเก็บกู้ชิ้นส่วนที่ชำรุดเสียหาย การเข้าไปติดตั้งชิ้นส่วนใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ถ้าความสามารถในการเข้าถึงเครื่องจักรมีมากแล้ว เครื่องจักรจะเสียหายยาก และหากเสียหายก็จะใช้เวลาในการแก้ไขไม่นาน การปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงเครื่องจักร เป็นส่วนหนึ่งในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM)

ABC Analysis


ABC Analysis
การวิเคราะห์ ABC เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจำแนกแยกแยะวัสดุซ่อมบำรุงที่ต้องมีการคงคลัง (วัสดุสิ้นเปลือง ชิ้นส่วน อะไหล่ เป็นต้น) การวิเคราะห์ ABC จะทำให้เรามีกลไกในการแยกรายการสิ่งของต่างๆออกเป็นสามกลุ่ม ซึ่งก็คือกลุ่ม A กลุ่ม B และ กลุ่ม C โดยเกณฑ์การแยกเป็นการพิจารณาถึงจำนวนและมูลค่าการใช้ กล่าวคือ กลุ่ม A มีมูลค่าการใช้มากที่สุด และปริมาณการคงคลังน้อยที่สุด กลุ่ม C จะมีมูลค่าการใช้น้อยที่สุด และปริมาณการคงคลังมากที่สุด สำหรับกลุ่ม B จะอยู่ระหว่างกลุ่ม A กับ กลุ่ม B ทั้งนี้เพื่อจัดความสมดุลระหว่างเงินที่จมไปกับการคงคลัง กับ ความพร้อมในการใช้งาน การวิเคราะห์ ABC เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานซ่อมบำรุง (Maintenance Management) ในส่วนของการบริหารวัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance Materials)

3 Z (Zero Breakdowns, Zero Defects, Zero Accidents)


3 Z (Zero Breakdowns, Zero Defects, Zero Accidents)
ความสำเร็จ 3 ประการในการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) เป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม หากการดำเนินการ TPM ประสบความสำเร็จ Zero Breakdowns หมายถึง เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ Zero Defects หมายถึง ของเสียเป็นศูนย์ และ Zero Accidents หมายถึง อุบัติเหตุเป็

ความสูญเสีย 3 MU (Muri, Muda, Mura)


3 MU (Muri, Muda, Mura)
เหตุแห่งความไร้ประสิทธิภาพ 3 ประการในกระบวนการผลิต เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น Muri หมายถึง การทำเกินพอดี Muda หมายถึง ความสูญเสียหรือสิ้นเปลือง (เหมือนกับ 7 Waste) และ Mura หมายถึง ความไม่แน่นอน ความไม่คงเส้นคงวา การกำจัดเหตุแห่งความไร้ประสิทธิภาพ 3 ประการในกระบวนการผลิตดังกล่าว จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต (Productivity)

The 7 QC Tools


The 7 QC Tools คือ เครื่องมือที่ช่วยในงานควบคุมคุณภาพ หรือ ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาระบบงานควบคุมคุณภาพ ได้แก่
1.ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
2.แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram)
3.กราฟ (Graphs)
4.แผ่นตรวจสอบ (Checksheet)
5.ฮีสโตแกรม (Histogram)
6.ผังการกระจาย (Scatter Diagram)
7.แผนภูมิควบคุม (Control Chart)

สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย


5ส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
5ส คือ แนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นในวงการการผลิตและวงการงานบริการเป็นต้น โดยการปฏิบัติตามหลัก 5ส ที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยในญี่ปุ่นเรียกกันว่า 5S ซึ่งได้แก่

สะสาง (ญี่ปุ่น: 整理 seiri ?) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
สะดวก (ญี่ปุ่น: 整頓 seiton ?) คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งานและปลอดภัย
สะอาด (ญี่ปุ่น: 清掃 seiso ?) คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และ สถานที่ทำงาน
สุขลักษณะ (ญี่ปุ่น: 清潔 seiketsu ?) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดี ตลอดไป
สร้างนิสัย (ญี่ปุ่น: 躾 shitsuke ?) คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัยข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

Visual Control


Visual Control ดูจะเป็นที่พูดถึงกันมาก แต่เท่าที่พบเห็นในการปฏิบัติจริงนั้น ยังมีบางส่วนที่ยังคงยึดติดกับรูปแบบมากกว่าวัตถุประสงค์ นั่นอาจเป็นเพราะว่า การนำมาใช้ ไม่ได้เกิดจากความต้องการของผู้ปฏิบัติงานเอง แต่เกิดมาจากการมอบหมายให้ทำของผู้บังคับบัญชา หรือ เห็นเขาทำกันก็นึกอยากจะทำบ้าง สิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นการทำโดยยึดรูปแบบมากกว่ายึดวัตถุประสงค์ ก็คือ การมีคำถามจากผู้ปฏิบัติงานว่า “ทำ Visual Control ไปทำไม” และโดยส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็น Visual Indicator มากกว่าเป็น Visual Control เพราะทำให้ทราบแต่เพียงสถานะของสิ่งนั้นว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด แต่ยังไม่สามารถทำให้ทราบถึงสภาวะที่แท้จริงของหน้าที่การทำงานว่ายังคงทำงานเป็นปกติหรือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารถทำให้ทราบถึงว่าจะต้องดำเนินการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้อย่างไร

ระบบคัมบัง (Kanban System)


ระบบคัมบัง (Kanban System) หมายถึง ส่วนหนึ่งของระบบ JIT ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำงานมีการประสานงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ระบบคัมบังของโตโยต้าใช้แผ่นกระดาษเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความต้องการให้มีการ “ส่ง” ชิ้นส่วนเพิ่มเติม (Conveyance Kanban : C-card ) และใช้แผ่นกระดาษเดียวกันหรือที่มีลักษณะ เหมือนกันเพื่อเป็นสัญญาณแสดงความต้องการให้ “ผลิต” ชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น (Production Kanban : P-card ) ซึ่งบัตรนี้จะติดไปกับภาชนะ ( Container ) ที่ใส่วัตถุดิบ หรือระบบบัตรสองใบ ( Two-card System ) โดยมีเกณฑ์สำหรับการดำเนินงานดังต่อไปนี้

1.ในแต่ละภาชนะจะต้องมีบัตรอยู่ด้วยเสมอ
2.หน่วยงานประกอบจะเป็นผู้เบิกจ่ายชิ้นส่วนจากหน่วยผลิตโดยระบบดึง
3.ถ้าไม่มีใบเบิกที่มีคำสั่งอนุมัติ จะไม่มีการเคลื่อนภาชนะออกจากที่เก็บ
4.ภาชนะจะต้องบรรจุชิ้นส่วนในปริมาณที่ถูกต้องและมีคุณภาพที่ดีเท่านั้น
5.ชิ้นส่วนที่ดีเท่านั้นที่จะถูกจัดส่งและใช้งานในสายการผลิต
6.ผลผลิตรวมจะไม่มากเกินไปกว่าคำสั่งการผลิตที่ได้บันทึกลงใน P-card และวัตถุดิบที่เบิกใช้จะต้องไม่มากเกินกว่าจำนวนชิ้นส่วนที่บันทึกลงใน C-card

สัญลักษณ์ของ Kanban ไม่จำเป็นต้องเป็นไปในรูปลักษณะของบัตรเพียงอย่างเดียว ยังสามารถแทนได้ด้วยสื่อสัญลักษณ์อื่น ดังต่อไปนี้

– ระบบภาชนะ (Container) ตัวภาชนะเองอาจจะใช้แทนบัตรได้ คือ เมื่อภาชนะว่างลงแสดงว่าต้องการชิ้นส่วนเพิ่มเติม ระบบนี้จะใช้งานได้ดี เมื่อภาชนะได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถบรรจุวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนได้อย่างพอดี และไม่ก่อให้เกิดความสับสน
– ระบบไม่ใช้ภาชนะ (Container less) แต่อาจจะเป็นพื้นที่การทำงานในสายการผลิตสำหรับกำหนดพื้นที่สำหรับวางวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนก็ได้ เมื่อพื้นที่บริเวณด้งกล่าวว่างลงก็เป็นสัญญาณที่บอกได้วาต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนมาเพิ่ม รวมทั้งยังเป็นสัญญาณบอกได้ถึงว่าหน่วยงานผลิตอื่นต้องทำการผลิตต่อได้ด้วย

ระบบทันเวลาพอดี Just-In-Time


JIT
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
JIT ระบบทันเวลาพอดี ย่อมาจากคำว่า Just-in-time ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นระบบการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น ระบบทันเวลาพอดี อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ระบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory) หรือ ระบบการผลิตที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (Stockless Production) หรือ ระบบสั่งวัสดุเมื่อต้องการ (Material as needed) โดยส่วนใหญ่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตรถยนต์

== คุณสมบัติของระบบ JIT ==
* ช่วยลดสินค้าคงคลัง ทำให้ลดขนาดพื้นที่ในการเก็บ
* สามารถกำหนดเวลาในการรับของได้
* ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง การหยิบ การยกขน
* ลดเวลาในการจัดเรียง การจัดเก็บสินค้า

== ลักษณะของระบบ JIT ==
* การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง ([[ภาษาอังกฤษ]]:Pull Method) หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ ทำให้มีจำนวนสินค้าคงคลังต่ำ เหมาะกับการผลิตที่มีลักษณะสินค้าเหมือนๆกัน เนื่องจากสามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้ง่าย
* สั่งซื้อวัสดุจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง ([[ภาษาอังกฤษ]]:Small Lot Size Ordering) หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีสินค้าคงคลังต่ำ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็oประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย เป็นการสั่งซื้อย่อย ย่อมมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้น เป็นต้น
* การผลิตแบบอัตโนมัติ ([[ภาษาอังกฤษ]]:Automated Production) การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กัน
* การทำงานคงที่ ([[ภาษาอังกฤษ]]:Workstation Stability) การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
* มีความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี ([[ภาษาอังกฤษ]]:Good Relation) โดยส่วนใหญ่การจัดส่งแบบทันเวลาพอดี มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้

ความสูญเปล่าในโรงงานอุตสาหกรรม


ความสูญเปล่าในโรงงาน 7 ประการในโรงงานอุตสาหกรรม มักจะมีการสูญเปล่าด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย (Defects) ให้พิจารณาว่ามีจำนวนมากหรือไม่ เมื่อเก็บสถิติแล้วเพิ่มขึ้นหรือไม่
2. ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินความต้องการ (Over production) เกิดจากการเก็บสต๊อกมากเกินไป ซึ่งต้องพิจารณาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
3. ความสูญเปล่าจากการรอคอย / ความล่าช้า (Waiting time / delay) เช่น เครื่องจักรเสีย ทำให้พนักงานว่างงาน
4. ความสูญเปล่าจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป (Excessive Inventory) สั่งวัสดุปริมาณมากแต่มีการใช้น้อย ดั้งนั้นการสั่งซื้อต้องมีเหตุผลในการสั่งและประหยัด ต้องสั่งตามจำนวน
5. ความสูญเปล่าจากการขนย้ายที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Transport) จึงควรมีวิธีการขนย้ายที่เหมาะสมและถูกวิธีหรือไม่ ต้องมีวิธีการที่ดีและจำเป็นต้องขนย้าย
6. ความสูญเปล่าจากกระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Process) โรงงานใหม่ที่ตั้งมาแล้ว มีการลงทุนสูงกว่า เขาสามารถพัฒนาขีดความสามารถทุกเรื่องให้ดีกว่าโรงงานเก่าๆ นักลงทุนใหม่จึงเกิดขึ้นมาเรื่อยๆพร้อมคู่แข่งของโรงงานเก่า
7. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary motion or action) ความเคลื่อนไหวต่างๆมีส่วนช่วยให้เกิดความเมื่อยล้า ผลผลิตต่ำ จึงเกิดเทคนิคใหม่เรียกว่า Work Study เช่น การออกแบบโต๊ะทำงาน การจัดวางของ ที่ให้ออกแบบสะดวกสบายต่อการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มผลผลิตได้

ระบบการผลิตแบบ Lean (Lean Manufacturing)

ระบบการผลิตแบบลีน – การจัดการกระบวนการที่เป็นเลิศ
Lean Manufacturing - Best Practice in Process Management

จัดการกระบวนการ... เพื่อนำองค์การสู่ความเป็นเลิศ
ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ตามแนวทางของระบบการผลิตแบบลีน

ปัจจุบัน การจัดการกระบวนการขององค์การที่ดี จะต้องพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความต้องการของลูกค้า ภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ผู้บริหารองค์การกระทำได้ก็คือ ต้องทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และหาทางรับมือด้วยการปรับองค์การให้มีความสามารถรองรับปัญหาดังกล่าว
ระบบการผลิตแบบลีน เป็นเครื่องมือในการจัดการกระบวนการ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ โดยการพิจารณาคุณค่าในการดำเนินงานเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งสร้างคุณค่าในตัวสินค้าและบริการ และกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรและผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจในที่สุด ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย

โดยแนวคิดพื้นฐานของลีน ประกอบลีน




รูปแนวทางการปรับปรุงด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA)
คำว่า “ลีน” (Lean) แปลว่า ผอมหรือบาง ในที่นี้มีความหมายในแง่บวก ถ้าเปรียบกับคนก็หมายถึง คนที่มีร่างกายสมส่วนปราศจากชั้นไขมัน แข็งแรง ว่องไว กระฉับกระเฉง แต่ถ้าเปรียบกับองค์การจะหมายถึง องค์การที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเสียในทุกๆ กระบวนการ มีความสามารถในการปรับตัว ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งขัน เราเรียกองค์การที่มีลักษณะดังกล่าวว่า “วิสาหกิจแบบลีน” หรือที่ในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเรียกว่า “วิสาหกิจที่กระชับ” (Lean Enterprise)

ความเป็นมาของระบบการผลิตแบบลีน (Historical of Lean Manufacturing)
ระบบการผลิตแบบลีนกำเนิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ กล่าวกันว่า ในอดีตการผลิตสินค้าต่างๆ รวมทั้งรถยนต์มีลักษณะเป็นแบบงานหัตถกรรมหรืองานฝีมือ (Craft / Hand Made Production) ไม่มีสายการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะดำเนินการผลิตโดยอาศัยทักษะความชำนาญของพนักงานเป็นหลัก ดังนั้น จึงมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง แต่ก็สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายชนิดตามความต้องการของลูกค้า ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) ผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ได้ริเริ่มแนวคิดในการสร้างสายการผลิตให้มีลักษณะคล้ายกับการไหลของสายน้ำ และถือว่าทุกสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ในกระบวนการคือความสูญเปล่า โดยนำเอานวัตกรรมระบบสายพานลำเลียงมาใช้ในสายการประกอบรถยนต์ (Moving Assembly Line) ของบริษัท และใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานที่สามารถเปลี่ยนทดแทนกันได้ (Standardized Interchangeable Parts) ทำให้ใช้เวลาในการผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบได้รับการผลิตและส่งต่อไปยังกระบวนการถัดไป
โดยไม่มีการพิจารณาถึงความต้องการเช่นเดียวกับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ระบบดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าระบบการผลิตแบบเน้นปริมาณ (Mass Production) คือผลิตแบบปริมาณมาก รุ่นการผลิตมีขนาดใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยให้ต่ำลงโดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนทางอ้อม
ระบบการผลิตของฟอร์ดประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง กล่าวกันว่ายุคนั้นในอเมริกาไม่มีใครที่ไม่รู้จักรถยนต์ฟอร์ดโมเดลที (Model T Ford) ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมที่มีการผลิตและจำหน่ายจำนวนมาก ถึงแม้ว่ารถรุ่นนี้จะมีจำหน่ายเพียงสีเดียว คือสีดำ แต่เนื่องจากช่วงนั้นตลาดยังคงเป็นของผู้ผลิต เพราะผู้ผลิตรถยนต์มีจำนวนน้อยราย แต่ความต้องการซื้อมีจำนวนมาก ผลิตเท่าไรก็จำหน่ายได้หมด
อีกหลายปีต่อมา จากความสำเร็จของบริษัทฟอร์ด อิจิ โทโยดะ (Eiji Toyoda) และไทอิจิ โอโนะ (Taiichi Ohno) ผู้บริหารของบริษัทโตโยต้า ได้พยายามนำเอาแนวคิดของฟอร์ดไปปรับปรุงระบบการผลิตของบริษัทโตโยต้าที่ญี่ปุ่น แต่พวกเขาพบว่าสภาพของบริษัทยังไม่เหมาะกับการใช้ระบบดังกล่าว เนื่องจากขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นอยู่ในสภาพหลังสงคราม ปัจจัยการผลิตต่างๆ และเงินทุนมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถลงทุนสร้าง “ระบบการผลิตที่เน้นปริมาณ” ตามแบบอย่างของฟอร์ดได้ ทั้งสองจึงได้ร่วมกับทีมงานของบริษัทโตโยต้า พัฒนาระบบการผลิตของตนเองขึ้นมาจากประสบการณ์ที่พบ โดยเริ่มต้นจากการค้นหาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการ การนำข้อเสนอแนะการปรับปรุงงานที่ได้จากพนักงานมาทดลองปฏิบัติ และประยุกต์แนวคิดของระบบซูเปอร์มาร์เก็ตหรือระบบดึง* มาสร้างระบบการผลิตที่เรียกว่า “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” (Toyota Production System) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in Time Production System: JIT) ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ “การผลิตเฉพาะสินค้าหรือชิ้นส่วนที่จำเป็น ตามปริมาณที่มีความต้องการ และภายในเวลาที่มีความต้องการ” โดยมุ่งเน้นกำจัดความสูญเสีย (Waste/Muda) ทั้ง 7 ประการ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน ได้แก่
1. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Motion)
2. การรอคอย (Idle Time / Delay)
3. กระบวนการที่ขาดประสิทธิผล (Non-effective Process)
4. การผลิตของเสียและแก้ไขงานเสีย (Defects and Reworks)
5. การผลิตมากเกินไป (Overproduction)
6. การเก็บวัตถุดิบคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Stock)
7. การขนส่ง (Transportation)
ในปี ค.ศ. 1990 เจมส์ วอแม็ค และ แดเนียล โจนส์ ได้ร่วมกันแต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The Machine that Changed the World ซึ่งเปรียบเทียบปัจจัยแห่งความสำเร็จระหว่างอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา เพื่ออธิบายว่าบริษัทสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกระบวนการได้อย่างไร และเริ่มใช้คำว่า “ระบบการผลิตแบบลีน” เป็นต้นมา
ชิจิโอ ชินโง (Shigeo Shingo) ที่ปรึกษาของบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า “ระบบการผลิตแบบโตโยต้าไม่ใช่ระบบที่มีแนวคิดขัดแย้งกับระบบการผลิตของฟอร์ด แต่เป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาให้สอดประสานกับสภาพตลาดของประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งทำการผลิตจำนวนมาก ด้วยขนาดรุ่นการผลิตที่เล็ก และมีระดับสินค้าคงคลังต่ำ” ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ผู้ริเริ่มแนวคิดของระบบการผลิตแบบลีนก็คือ เฮนรี ฟอร์ด แต่ผู้นำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมก็คือ บริษัทโตโยต้า หรืออีกนัยหนึ่งระบบการผลิตแบบโตโยต้าก็คือ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของระบบการผลิตแบบลีนนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว วิวัฒนาการของระบบการผลิตแบบลีน แสดงได้ดังรูปที่ 1 เริ่มจากระบบการผลิตแบบงานหัตถกรรม มาสู่ระบบการผลิตแบบเน้นปริมาณ จนกระทั่งพัฒนาเป็นระบบการผลิตแบบลีน ที่มีความยืดหยุ่นในการผลิตสูง เพื่อรองรับสภาพปัจจุบันซึ่งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลงเรื่อยๆ ในขณะที่ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
แนวคิดของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Thinking)
การผลิตแบบลีน คือ วิธีการที่มีระบบแบบแผนในการระบุและกำจัดความสูญเสีย หรือสิ่งที่ไม่เพิ่มคุณค่าภายในกระแสคุณค่าของกระบวนการ โดยอาศัยการดำเนินตามจังหวะความต้องการของลูกค้าด้วยระบบดึง ทำให้เกิดสภาพการไหลอย่างต่อเนื่อง ราบเรียบ และทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ระบบอยู่เสมอ โดยแบ่งเป็นขั้นตอนหลักได้ 4 ขั้นตอน ดังแผนภาพในรูปที่ 2




ส่วนประกอบของระบบการผลิตแบบลีน (Composition of Lean Manufacturing)
ส่วนประกอบของระบบการผลิตแบบลีน มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับอาคาร (ดังรูปที่ 3) ขั้นตอนการก่อสร้างเริ่มต้นจากแนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Thinking) เปรียบเสมือนการวางรากฐานของอาคาร พนักงานทุกคนในองค์การจะต้องเกิดความตระหนักถึงความสูญเสีย งานที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า ก่อนที่จะเริ่มใช้เครื่องมือพื้นฐาน อันได้แก่ เครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบ (Analysis Tools) ด้วยแผนภาพกระแสคุณค่า (Value Stream Mapping) และการจัดการความเปลี่ยนแปลง(Change Management) ด้วยไคเซน(Kaizen) และนวัตกรรม(Kaikaku/Innovation) เครื่องมือพื้นฐานทั้งสองนี้เปรียบเสมือนกับพื้นของอาคาร ถ้าอาคารที่เราก่อสร้างมีพื้นฐานแข็งแรงมั่นคง ก็จะช่วยให้เสาทุกต้นที่เป็นโครงสร้างของอาคารมั่นคงแข็งแรงเช่นกัน เสาแต่ละต้นในที่นี้ก็คือ เครื่องมือต่างๆ ในการลดหรือกำจัดสิ่งที่ไม่เพิ่มคุณค่าในกระบวนการ ตลอดจนเน้นการสร้างคุณค่าในกระบวนการ สุดท้ายจึงได้อาคาร ซึ่งก็คือ “วิสาหกิจแบบลีน” ดังแสดงในรูป




เครื่องมือและปัจจัยที่สนับสนุนแนวคิดของลีน
- กิจกรรม 5ส
- แนวคิด Visual factory
o Virtual Display
o Virtual Control
- การผลิตแบบเซลล์
- การผลิตแบบไหลทีละชิ้น
- การบำรุงรักษาทวีผลที่คนมีส่วนร่วม
- เป้าหมายและแนวทางสำหรับ TPM
- ปรับปรุงและตั้งเครื่อง
- กลไกป้องกันความผิดพลาด (Value Stream Mapping)
- สายธารแห่งคุณค่าเวลาแทกค์ (Takt time)
สรุป
การผลิตแบบลีนเป็นกระบวนการจัดการที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ แต่สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมุ่งเน้นที่การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ประกอบกับการพิจารณาหาทางเพิ่มคุณค่าของกิจกรรมในกระบวนการ เพื่อผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดีที่สุด โดยใช้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด และใช้เวลาในการผลิตสั้นที่สุด
ไม่เกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า “วิสาหกิจแบบลีน” คือองค์การชั้นนำที่มีศักยภาพในการจัดการกระบวนการ สามารถดำรงอยู่ในสภาพปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมั่นคง ดังที่บริษัทโตโยต้าและวิสาหกิจแบบลีนหลายแห่งได้พิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว

New Up Date

Manufacturing Idea © 2008 Template by Dicas Blogger.

TOPO