ระบบชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน (Safety, Hygiene and Working Environment)

Pillar 8 - ระบบชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน (Safety, Hygiene and Working Environment)


ปัญหาของกิจกรรม TPM กับการบริหารความปลอดภัย คือ ทำอย่างไรให้การทำงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงอุปกรณ์และเงื่อนไขในการทำงาน

ทุกคนควรจะทำงานโดยระลึกอยู่เสมอว่า อุบัติเหตุและมลพิษเป็นศูนย์ เพราะว่าใน การทำงานมีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ตลอดเวลา ส่วนการใช้เครื่องจักรได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพนั้นก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ขั้นตอนการบริหารความปลอดภัยในกิจกรรม TPM นั้น ประกอบด้วยขั้นตอนความ ปลอดภัยในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ความปลอดภัยในการบำรุงรักษาตามแผน และความปลอดภัยในการป้องกันการบำรุงรักษา

กิจกรรม TPM กับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความปลอดภัยกับกิจกรรม TPM แสดงให้เห็นในภาพเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มสมรรถนะขององค์การดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว ซึ่งสมรรถนะขององค์การจะประกอบไปด้วย การเพิ่มผลผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมต้นทุน การส่งมอบตรงเวลา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมถึงขวัญและกำลังใจของพนักงานโดยกิจกรรม TPM กับการบริหารความปลอดภัยจะช่วยในการบริหารเครื่องจักร อุปกรณ์ และโรงงาน เพื่อช่วยควบคุม สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

กิจกรรม TPM ในสำนักงาน (TPM in Office)

Pillar 7 - กิจกรรม TPM ในสำนักงาน (TPM in Office)

หน่วยงานที่ไม่ได้ทำการผลิตโดยตรง เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายจัดซื้อ ควรจะให้การสนับสนุนงานในส่วนของการผลิตให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

โดยการนำแนวคิดกิจกรรม TPM มาประยุกต์ใช้ในงานเพื่อลดความสูญเสียในงานสำนักงาน

กิจกรรม TPM ในสำนักงาน ต้องดำเนินอยู่บนพื้นฐานของ 5 เสาหลัก ได้แก่ การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรุงรักษาด้วยตนเอง การศึกษาและฝึกอบรม การจัดทำระบบการ มอบหมายงาน และการจัดทำระบบประเมินผลงาน

กิจกรรม TPM ในสำนักงาน ต้องมีการกำหนดหน่วยวัด ดัชนีวัดความสำเร็จ และค่า มาตรฐานที่ยอมรับได้ เพื่อใช้ในการติดตามความคืบหน้าของการปรับปรุงงานในสำนักงาน

แนวคิดและความสำคัญของกิจกรรม TPM ในสำนักงาน

1. บทบาทของงานบริหารและงานสนับสนุน

หน่วยงานที่ไม่ได้ทำการผลิตโดยตรง เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายจัดซื้อ ก็มีบทบาทสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายผลิต เช่น

การประสานงานต่างๆ การจัดเตรียมงานเอกสาร การจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งถ้างานบริหารและงานสนับสนุนต่างๆ กระทำด้วยความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพหรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดความสูญเสียนั่นเอง ก็จะทำให้ฝ่ายผลิตซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างรายได้เข้าสู่บริษัทไม่สามารถทำงานได้ด้วยความราบรื่น

นอกจากนั้น งานสำนักงานต่างๆ ยังต้องมีหน้าที่ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตของตนเอง ลดต้นทุนตามกลยุทธ์หรือนโยบายในการแข่งขันของบริษัท

กิจกรรม TPM ในสำนักงานจะช่วยให้การทำงานบริหารและงานสนับสนุนของหน่วยงานที่ไม่ได้ทำการผลิตโดยตรงบรรลุตามบทบาทดังกล่าว เนื่องจากการ

ปรับปรุงกิจกรรมในสำนักงานมี วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

• ช่วยให้การทำกิจกรรม TPM ในส่วนการผลิตของพนักงานกลุ่มต่างๆ ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

• ลดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นในงานสำนักงาน

2. การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน

การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน คือ การเพิ่มผลงาน (การปรับปรุงคุณภาพและการบริหาร) และการลดปัจจัยที่ใช้ในการทำงาน (ลดความสูญเสียและความสิ้นเปลือง) ซึ่งการเพิ่มผลงานประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพการตัดสินใจ การปรับปรุงการทำงาน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท และการปรับปรุงสถานที่ทำงาน สำหรับการลดปัจจัยการทำงานสามารถทำได้โดยการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้คุ้มค่า เช่น ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ลดจำนวนแรงงาน ทำงานให้ง่ายขึ้น และปรับปรุงคุณภาพของการประสานงาน ภาพด้านล่างแสดงโครงสร้างของการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน



3. ความสูญเสียในสำนักงาน

ความสูญเสียในการทำงาน (Waste) ประกอบไปด้วย ความสูญเสียจากกระบวนการตัดสินใจ ความสูญเสียจากการประสานงาน และความสูญเสียจากการทำเอกสารและการประมวลผลข้อมูล ดังภาพแสดงโครงสร้างของความสูญเสียที่เกิดขึ้น

การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance)

Pillar 6 - การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance)


การผลิตชิ้นงานให้ได้คุณภาพและความประณีต (Precision) ตามพิกัดความเผื่อที่ได้ตกลงกับลูกค้าไว้นั้น ความแม่นยำของเครื่องจักรมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก

ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมความแม่นยำของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ด้วยการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ

การดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการประกันคุณภาพและกิจกรรมการควบคุมเครื่องจักรเข้าด้วยกัน

โดยการติดตามคุณลักษณะทางด้านคุณภาพของชิ้นงานและการใช้งานของเครื่องจักรให้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

การจัดทำตารางมาตรฐานการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางด้านคุณภาพกับค่ามาตรฐานของการตั้งเครื่องจักร เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความประณีตตามพิกัดความเผื่อที่กำหนด

แนวคิดและความสำคัญของการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ

1. การประกันคุณภาพกับการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่กระทำเพื่อความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะต้องมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยกระบวนการคุณภาพเริ่มตั้งแต่การออกแบบมาจนถึงการคัดเลือกปัจจัยในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต และการป้องกันไม่ให้ชิ้นงานที่ไม่มีคุณภาพหลุดไปถึงมือลูกค้า

การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance) คือ การประกันคุณภาพในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบหรือการเลือกซื้อ

การบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ผลิตชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพตลอดเวลา โดยการหาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับ ความแม่นยำของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับเงื่อนไขต่างๆ ในการตั้งเครื่องจักร ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับวิธีการทำงาน โดยความสัมพันธ์ทั้งหลายดังกล่าวนั้นกำหนดขึ้นมาเพื่อหาทางควบคุมต่อไป

2. ความหมายของการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ

การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การประกันคุณภาพในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อ

1. ความมั่นใจในคุณภาพที่เกิดจากการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. เงื่อนไขต่างๆ ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะไม่ทำให้เกิดของเสีย

3. ป้องกันปัญหาทางด้านคุณภาพด้วยการควบคุมเงื่อนไขที่จะไม่ทำให้เกิดของเสีย

4. ตรวจวัดความเบี่ยงเบนของเงื่อนไขต่างๆ เพื่อพยากรณ์โอกาสที่จะเกิดของเสียและหาทางป้องกันล่วงหน้า

3. การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพกับ 5 เสาหลักของกิจกรรม TPM

ความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ อยู่ในสภาพที่ดี มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับ

สภาพแวดล้อม ทักษะ และวิธีการทำงาน ที่ต้องเอื้ออำนวยต่อการเกิดคุณภาพ และเพื่อให้บรรลุความจำเป็นขั้นพื้นฐานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มวัตถุประสงค์ในการมุ่งมั่นไม่ให้เกิดของเสียเข้าไปใน 5 เสาหลักของ กิจกรรม TPM อันประกอบไปด้วย การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรุงรักษาด้วยตนเอง การบำรุงรักษาตามแผน การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา ตามภาพ



ในภาพจะเห็นได้ว่า การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง จะเพิ่มเติมเรื่องของการปรับปรุงและการแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพเข้าไปด้วย ในขณะที่ การบำรุงรักษาด้วย

ตนเอง จะเพิ่มเติมทักษะในเรื่องของการสังเกตและแก้ไขปัญหาทางด้านคุณภาพเข้าไป ในส่วนของ การบำรุงรักษาตามแผน จะเพิ่มเรื่องของการตรวจสอบเงื่อนไขทางด้านคุณภาพเข้าไปในแผนการบำรุงรักษาตามคาบเวลา เพื่อเป็นการติดตามความเบี่ยงแบนของเงื่อนไขต่างๆ ว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ สำหรับการ คำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ จำเป็นที่จะต้องสร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่คิดว่า จะทำให้เกิดการผลิตได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งการออกแบบเครื่องจักรและการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีเสาหลักที่ 5 คือ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา เป็นกลไกในการสร้างจิตสำนึกและทักษะในการจัดการกับปัญหาทางด้านคุณภาพ

การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นของการออกแบบ - (Initial-Phase Management)

Pillar 5 - การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นของการออกแบบ - (Initial-Phase Management)

เมื่อใดก็ตามที่มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ภารกิจสำคัญ คือ ประสิทธิภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการลงทุนในตัวเครื่องจักร พร้อมกับการพัฒนากระบวนการผลิตให้ผลิตออกมาได้คราวละมากๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาต้องเป็นที่ต้องการของลูกค้า หรืออาจเรียกได้ว่า บริษัทต้องการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ง่ายภายใต้กระบวนการผลิตที่ปราศจากความสูญเสีย นั่นก็คือ การมีเครื่องจักรที่ใช้ง่าย ซ่อมแซมได้ง่าย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่มีของเสียหลุดออกมานั่นเอง

การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นของการออกแบบ ก็คือ การคำนึงถึงรายละเอียดต่างๆ ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบเครื่องจักร และการบริหารการผลิตที่อยู่บนหลักการของการออกแบบเพื่อป้องกันการบำรุงรักษา (MP Design) และการพิจารณาค่าใช้จ่ายตลอดวงจรชีวิต (Life-Cycle Cost : LCC)

เพื่อเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ตัวของผลิตภัณฑ์ต้องสามารถทำการผลิตได้ง่ายเป็นอันดับแรก เพราะจะทำให้ปัญหาอื่นๆ ที่ตามมามีน้อยลง หรือในบางประเด็นอาจจะไม่มีปัญหาเลย

การออกแบบเครื่องจักรเพื่อป้องกันการบำรุงรักษาต้องทำให้เครื่องจักรมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) ส่งเสริมการบำรุงรักษา (Maintainability) ส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ส่งเสริมการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (Operability) ประหยัดทรัพยากร ส่งเสริมความปลอดภัย และมีความอเนกประสงค์ (Flexibility)

การบริหารการผลิตประกอบด้วยการวางแผนกำลังการผลิต (Product Capacity Planning) การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control) และการบริหารของคงคลัง (Inventory Management) ซึ่งทั้งหมดสามารถส่งผลกระทบต่อการบำรุงรักษาได้ ดังนั้นการบริหารการผลิตจึงต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาด้วย

การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา

Pillar 4 - การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา


TPM เป็นกิจกรรมในเชิงโครงสร้างที่ต้องการความร่วมมือจากทั้งองค์การ เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการทำงานด้วยเครื่องจักรให้มีบรรยากาศที่ดีและมีการจัดการที่ทันสมัย ดังนั้นเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานได้โดยสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทักษะและความชำนาญของพนักงานทุกคนในการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึก TPM อย่างประสบความสำเร็จ โดยทำให้ผู้ใช้เครื่องจักรคิดได้ว่า "เครื่องจักรของเรา เราต้องรักษา" นั้น มักประสบปัญหาที่ว่า ผู้ใช้เครื่องไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิค ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการออกแบบเครื่องจักร และไม่มีความรู้ทางด้านบริหารจัดการ

หากต้องการพัฒนา TPM ให้ได้ผลอย่างต่อเนื่องนั้น การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บ่อยครั้งการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ หากองค์การไม่สามารถหาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะในหน่วยงานของตนเองทั้งในด้านความสามารถ ความสัมพันธ์ของบุคลากร และลักษณะของการปฏิบัติงาน

OJT และ OFF-JT

การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไปมีทั้งการฝึกอบรมที่จัดโดยหน่วยงานส่งเสริม TPM ซึ่งมีการนำผู้เรียนลงไปฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงหรือเรียกว่า On-the-Job Training (OJT) และการศึกษาหรือการฝึกอบรมแบบให้ผู้เรียนศึกษาในห้องเรียนหรือค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือเรียกว่า Off-the-Job Training (OFF-JT) ทั้งนี้การศึกษาและฝึกอบรมทั้ง 2 รูปแบบต่างก็อยู่บนพื้นฐานของการปรับปรุงทักษะของแต่ละคน เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทด้วยการทำงานอย่างถูกต้องและมีความชำนาญ

การศึกษาและการฝึกอบรมดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นแบบ OJT หรือ OFF-JT เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารและหัวหน้างานในสายการผลิตนั้นๆ ในการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้กับพนักงาน ในหัวข้อหลักต่อไปนี้

การเพิ่มพูนทักษะในการดูแลรักษาเครื่องจักร

การเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงาน

ความหมายและลำดับขั้นการเกิดทักษะ

คำว่าทักษะมีความหมายโดยทั่วไปว่า ความสามารถในการปฏิบัติงาน หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (ไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์เป็นเวลานาน) กับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความรู้และประสบการณ์

ผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าในการตรวจจับความผิดปกติและหาทางแก้ไข คือ ผู้ที่มีทักษะสูงกว่าผู้ที่ใช้เวลามากกว่าในการทำอย่างเดียวกัน โดยทั่วไปคนเราจะมีการพัฒนาทักษะโดยอัตโนมัติ หากมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือมีโอกาสในการลองผิดลองถูก แต่การรอให้เกิดทักษะโดยอัตโนมัติดังกล่าว ต้องใช้เวลานานและไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนบุคคลเป็นหลัก

ดังนั้นความหมายของการพัฒนาทักษะในที่นี้ จึงหมายถึงการให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อย่นย่อเวลาที่เกิดทักษะ โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว



สำหรับลำดับขั้นตอนของการพัฒนาทักษะของคนเราเริ่มตั้งแต่ไม่รู้อะไรเลย และไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาก่อน จนถึงขั้นที่สามารถสอนผู้อื่นได้

มีดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 : ยังไม่มีทฤษฎีและทักษะ (ยังไม่ผ่านการฝึกอบรมและการปฏิบัติ)

ขั้นที่ 2 : มีเฉพาะทฤษฎี (เริ่มปฏิบัติงาน)

ขั้นที่ 3 : มีทักษะ (ประยุกต์ทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติ)

ขั้นที่ 4 : มีทฤษฎีใหม่ (ทฤษฎีที่ได้จากการปฏิบัติ)

ขั้นที่ 5 : มีทักษะขั้นสูงสามารถสอนผู้อื่นได้ (ประยุกต์ทฤษฎีใหม่เข้ากับทักษะ)

Store brands still being fueled by slow economy, says new study

By a sizeable margin, American consumers appear to be at odds with recent reports that the economy has improved. A new nationwide study reveals that more than eight out of ten supermarket shoppers see no improvement in the economy, and forty percent actually believe things have gotten worse. As consumers continue to cope, the study affirms, the appeal of store brand products is stronger than ever and may even be intensifying.


The findings are based on a poll of nearly 800 main household grocery shoppers conducted in February 2010 by GfK Custom Research North America for the Private Label Manufacturers Association, New York. The full report, entitled Recession, Recovery and Store Brands: What Consumers Are Saying Now, is available for download at http://cli.gs/PLMAGfKRpt.
Among the GfK study highlights:

For most American shoppers, the recovery has yet to begin.

Asked whether the economy has changed over the past few months, 40% said conditions were worse, while another 42% said things have stayed the same. Fewer than one in five felt the economy had improved.

As a result, the recent surge in store brands sales is likely to continue. When asked how important economic conditions were in deciding to buy a supermarket store brand, four in ten responded “very important.” A solid majority of consumers – more than six in ten – said they plan on buying more private label as they attempt to stretch their food dollars. Another finding that may also accrue to store brands’ benefit: Half of shoppers intend to spend less money on groceries in the months ahead.

Consumer awareness of store brands is also rising. More than half of respondents said they are more aware of store brand products now than they were a year ago.

Moreover, shoppers who identify themselves as “frequent” buyers of store brands are at an all-time high.

Some 57% say they buy private label products frequently, a figure that has been increasing (it was under 55% a year ago).

A greater number of shoppers are switching to store brands in product categories where they had previously only purchased a national brand.

Some 43% report they have recently forsaken a familiar national brand for a private label counterpart, a marked increase since the June 2009 when only 35 % said they had done so.

Virtually all of the shoppers who switched are pleased with their decision.

Ninety-seven percent compared store brands favorably to their previous national brand choices in the same categories. About half said that their store brand selections compare “very favorably,” a dramatic increase from the June 2009 study when only one quarter reported that.

Study participants endorsed a variety of strategies to cope with what they see as a persistently difficult economy.


When asked how they think the economy will impact their supermarket shopping habits, more than two thirds said they will take advantage of discounts by buying larger sizes or quantities for items they regularly purchase; two thirds will look for more coupons and promotions on national brands. About a third plan to change the stores or types of stores where they do their primary grocery shopping.

PLMA commissioned GfK to monitor consumer attitudes and behavior toward store brands in the U.S. as private label sales and market shares across all retail channels began to surge about two years ago. Sales of store brand products topped $86.4 across the major U.S. retail channels over the past year, according to the latest data compiled by The Nielsen Company for PLMA. In supermarkets alone, where market share in units reached an historic high of 23.7%, store brands growth outpaced national brands by a spread of 8 basis points and dollar market share also set a new record at 18%. Store brands accounted for 90% of the sales growth in supermarkets, adding $1.5 billion in incremental sales (+2.9%), while national brand sales were virtually flat for the year at +0.1%.

The February 2010 survey updates findings from two earlier PLMA studies on “Store Brands and the Recession,” published in February 2009 and in June 2009. GfK Custom Research North America is part of the GfK Group, the world's fourth largest market research company.
SOURCE: PLMA

Packaging materials: Gap widened between EU and U.S. corrugated basis weights


Packaging trends in Europe are compared with the U.S. since they occupy similar geographic areas, have similar climates and topographical features, and their containerboard companies supply many of the same global food, beverage and consumer goods companies. However, average basis weights of corrugated are now 20% lighter in Europe than the U.S., as shown in the new study published today by RISI, The Future of Lightweight Containerboard in North America.
This reflects a proactive cultural change in Europe, with sustainability high on the agenda and government environmental initiatives with targets and penalties for non-compliance implemented across the supply chain, and supported by trade groups and NGOs.

Author of the study and industry expert Sarilee Norton says, "A critical look at the geographic factors, the fiber considerations and the supply chain drivers that distinguish Europe from North America are not different enough to continue to explain a 20% differential in average basis weights. Sustainability, packaging efficiency and cost savings are vitally important considerations to North American corrugated users as well as those in Europe."

Since 2000 only three new machines have been built in North America, compared with thirty-two in Europe. Modern machines, or conversions of existing machines, can produce extra-lightweight containerboard (under 26#) more quickly and economically. Many corrugators currently operating in North America are fully capable of running extra-lightweight constructions, and an analysis of current North American and European containerboard machine capabilities is included in the study. The evolution of 'lightweighting', including the technology developments of board machines, corrugators and converting capabilities, provides the containerboard producer and converter perspectives in the study, alongside what the trend towards lighter basis weights means for end-users.

The containerboard market is customer-driven and with the largest global retailer, Walmart aiming to reduce five percent of packaging across its supply chain by 2013, the report anticipates that the 'lightweighting' trend will continue, providing an opportunity for corrugators that invest in modern machines that offer the speed, quality and versatility needed, to help their customers realise their packaging strategies.

The Future of Lightweight Containerboard in North America provides a detailed analysis of the trend towards 'lightweighting', a history of corrugated, and capacity forecasts of the North American Containerboard market until 2014.

การบำรุงรักษาตามแผน - Planned Maintenance

Pillar 3 - การบำรุงรักษาตามแผน - Planned Maintenance


การบำรุงรักษาตามแผนเป็นกิจกรรมของฝ่ายซ่อมบำรุงและเป็นเสาหลักหนึ่งใน TPM ในขณะที่ฝ่ายผลิตทำกิจกรรมการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง และผู้ใช้เครื่องทำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

การบำรุงรักษาตามแผน คือ การที่ฝ่ายซ่อมบำรุงดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เครื่องจักรใช้งานได้ดีตลอดเวลา นั่นก็คือกิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรมีอัตราการใช้งานสูง (Availability) และเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถในการซ่อมบำรุง (Maintainability) โดยแบ่งย่อยออกเป็น การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง การป้องกันการบำรุงรักษา และการบำรุงเมื่อขัดข้อง

การบำรุงรักษาตามแผนจะทำกับเครื่องจักรต้นแบบและชิ้นส่วนต้นแบบเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นจึงขยายผลจนครบทุกเครื่องจักรในโรงงาน นอกจากนั้นยังต้องมีกิจกรรมอื่นสนับสนุนด้วย เช่น กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ใช้เครื่องในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง กิจกรรมสำหรับการบำรุงรักษาเชิง แก้ไขปรับปรุง กิจกรรมเพื่อการป้องกันการบำรุงรักษา และกิจกรรมเพื่อการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์

กิจกรรมในระบบการบำรุงรักษาตามแผน

1. กิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรใช้งานได้ดีตลอดเวลา

กิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรใช้งานได้ดีตลอดเวลาประกอบไปด้วยกิจกรรมเพื่อให้เครื่องจักรมีอัตราการใช้งานสูง (Availability) และเพื่อความสามารถใน

การซ่อมบำรุง (Maintainability) วิธีการบำรุงรักษาที่จะช่วยส่งเสริม Availability และ Maintainability ประกอบด้วยการบำรุงรักษาแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

เพื่อหยุดความเสียหาย
- การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

- การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)


เพื่อป้องกันความเสียหาย
- การบำรุงเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)

- การป้องกันการบำรุงรักษา(Maintenance Prevention)

เพื่อเตรียมพร้อมเมื่อเกิดการเสียหาย - การบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง (Breakdown Maintenance)

2. กิจกรรมในเชิงการบริหารการบำรุงรักษา

เพื่อให้การบำรุงรักษาตามแผนได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเครื่องจักร อะไหล่ หรืองบประมาณต่างๆ โดยทั่วไปต้องมีกิจกรรมเชิงบริหาร อันประกอบด้วย

การจัดการข้อมูลด้านต่างๆ ในการบำรุงรักษา (Maintenance Information Management)

การจัดการชิ้นส่วนและอะไหล่ (Spare Part Management)

การจัดการต้นทุนการบำรุงรักษา (Maintenance Cost Management)

3. กิจกรรมสนับสนุนจากฝ่ายผลิต

เพื่อให้การบำรุงรักษาบรรลุวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการตามแนวทางของ TPM จำเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายซ่อมบำรุงและฝ่ายผลิตต้องดำเนินกิจกรรมดังกล่าวร่วมกัน โดยกิจกรรมของฝ่ายผลิตที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการบำรุงรักษาตามแผน ก็คือ

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)

การบำรุงรักษาตามแผนโดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดนั้นจะทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยการปรับปรุงผลิตผล (Output) ที่จะออกมาในรูปของความพยายามให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Failure) ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero Accident) ในขณะเดียวกันยังช่วยลด
สิ่งต่างๆ ที่ใช้ในการบำรุงรักษา (Input)

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง - Autonomous Maintenance : AM

Pillar 2 - การบำรุงรักษาด้วยตนเอง - Autonomous Maintenance : AM


ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของ TPM ก็คือ การบำรุงรักษาที่มุ่งเน้นให้ผู้ใช้เครื่องจักรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบำรุงรักษา โดยเฉพาะการดูแลรักษาเครื่องจักรที่ตนเองใช้ ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุงเท่านั้น

การบำรุงรักษาด้วยตนเองเป็นการทำกิจกรรมบำรุงรักษาในลักษณะของกิจกรรมกลุ่มย่อย โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ดูแลรักษาเครื่องจักรของตนเอง ภายใต้ความคิดที่ว่า "ไม่มีใครเข้าใจเครื่องจักรได้ดีเท่ากับผู้ใช้เครื่อง" "ไม่มีใครคอยสังเกตสิ่งผิดปกติได้ดีเท่ากับผู้ใช้เครื่อง" "ไม่มีใครคอยดูแลรักษาเครื่องจักรได้ดีเท่ากับผู้ใช้เครื่อง" และที่สำคัญหากเครื่องจักรเกิดความเสียหายขึ้น "ไม่มีใครได้รับผลกระทบมากเท่ากับผู้ใช้เครื่อง"

การบำรุงรักษาด้วยตนเองคืออะไร

1. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง คือ การปกป้องเครื่องจักรของตนเอง

คำว่า "บำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง" หมายถึง ผู้ใช้เครื่องแต่ละคนสามารถทำการตรวจสอบประจำวัน หล่อลื่น เปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ ซ่อมแซมเบื้องต้น สังเกตความผิดปกติของเครื่อง และตรวจสอบอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ตนเป็นผู้ใช้งานอย่างละเอียดในบางครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ "ปกป้องเครื่องจักรของตนเอง"

แต่สำหรับในบางอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนสูง หรือบริษัทที่มีการขยายกำลังการผลิต เป็นไปได้ว่าบริษัทจะมีนโยบายให้ผู้ใช้เครื่องมีหน้าที่แค่ทำการผลิตอย่างเดียว ในขณะที่ฝ่ายซ่อมบำรุงจะเป็นผู้คอยดูแลบำรุงรักษาเครื่องทั้งหมด ซึ่งนั่นก็คือแนวความคิดที่ว่า "ผู้มีหน้าที่ใช้...ใช้ ผู้มีหน้าที่ซ่อม....ซ่อม" แนวคิดเช่นนี้จะทำให้ผู้ใช้เครื่องคอยจับตาดูเฉพาะชิ้นงานที่ออกมาโดยไม่สนใจสภาพของเครื่องจักร โดยฝ่ายซ่อมบำรุงก็จะไม่สามารถเข้าไปดูแลอะไรได้จนกว่าเครื่องจักรจะเสีย

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเครื่องจักรเกิดการเสียหาย ผู้ใช้เครื่องจะรู้สึกว่า "ฝ่ายซ่อมบำรุงไม่คอยดูแลให้ดี" หรือ "เครื่องจักรไม่ดี" ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากว่า จริงๆ แล้ว ความเสียหายของเครื่องจักรสามารถป้องกันได้ เพียงแค่ผู้ใช้เครื่องคอยสอดส่องดูแลในเรื่องของการขันแน่น การหล่อลื่น และการทำความสะอาด นอกจากนั้นในขณะที่เครื่องเริ่มแสดงอาการว่าจะเสีย ผู้ที่ประสบเป็นคนแรกก็คือผู้ใช้เครื่องนั่นเอง

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทใด เครื่องจักรซับซ้อนเพียงใด ผู้ใช้เครื่องยังคงมีบทบาทสำคัญในการ "บำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง"

2. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง คือ การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักรของตนเอง

เพื่อให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรของตนเองได้ ผู้ใช้เครื่องต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักรของตนเอง กล่าวคือ ผู้ใช้เครื่องต้องสามารถทำการปรับปรุงเครื่องจักรประจำวันได้ เช่น การทำความสะอาด การหล่อลื่น และการตรวจสอบ การพิจารณาออกแบบ หรือการหาระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการผลิต ซึ่งถือเป็นความจำเป็นที่ผู้ใช้เครื่องต้องพัฒนาต่อไป

การจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักรของตนเองได้นั้น อันดับแรกต้องสามารถ "ตรวจจับความผิดปกติได้" และอันดับที่สองต้องสามารถ "สัมผัสได้ถึงความผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น" โดยพิจารณาจากคุณภาพการใช้งานของเครื่องจักรและเมื่อใดก็ตามที่คุณภาพการใช้งานต่ำลงไป ผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักรของตนเองต้องรู้สึกทันทีว่า "มันต้องมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้น" ซึ่งทั้งหมดดังที่กล่าวมาอาจจะเกิดขึ้นได้ ผู้ใช้เครื่องจะต้องมีความสามารถอย่างมาก ดังต่อไปนี้

ความสามารถในการตั้งเกณฑ์วัดความผิดปกติ

ความสามารถในการตรวจจับสิ่งผิดปกติ

ความสามารถในการสังเกตสิ่งผิดปกติ

ความสามารถในการแก้ไขสิ่งผิดปกติได้อย่างเหมาะสม

จากความสามารถดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้เครื่องสามารถ

หาจุดที่ผิดปกติและแก้ไขให้ถูกต้องได้

เข้าใจโครงสร้างของเครื่องจักรและหน้าที่ต่างๆ ของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ในขณะที่ทำงานได้อย่างปกติ หรือในขณะที่กำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น

เข้าใจผลกระทบจากความผิดปกติของเครื่องจักรที่มีต่อคุณภาพการใช้งาน

ผู้ใช้เครื่องจักรที่มีความสามารถดังกล่าวครบถ้วนจึงจะเรียกได้ว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักรของตนเอง เนื่องจากเป็นผู้ที่สามารถหาจุดผิดปกติ สัมผัสได้ถึงสิ่งผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น และหาทางป้องกันความผิดปกติได้

บทบาทของผู้ใช้เครื่องและฝ่ายซ่อมบำรุงในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า การบำรุงรักษาที่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุงเพียงฝ่ายเดียว มักจะเป็นการบำรุงรักษาในตอนที่เครื่องจักรเกิดความเสียหายแล้ว เพราะนอกเหนือจากเวลาที่เครื่องจักรเสียหาย ก็คือ เวลาที่ใช้งานซึ่งเป็นเวลาที่ฝ่ายซ่อมบำรุงไม่ได้ใกล้ชิดกับเครื่องจักร และเวลาใช้งานนี่เองที่ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้เครื่อง ซึ่งทั้งฝ่ายซ่อมบำรุงและผู้ใช้เครื่องต่างก็มีบทบาทที่ต่างกันดังต่อไปนี้

1. บทบาทของผู้ใช้เครื่อง

บทบาทของผู้ใช้เครื่อง คือ การปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักโดยเฉพาะ คือ การป้องกันความเสื่อมสภาพของเครื่องจักร กิจกรรมดังกล่าว

มีดังต่อไปนี้

กิจกรรมเพื่อป้องกันความเสื่อมสภาพ

จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง (การป้องกันความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงาน)

ปรับปรุงสภาพการใช้งานขั้นพื้นฐาน (การทำความสะอาด การหล่อลื่น การขันแน่น)

การปรับแต่ง (การปรับแต่งค่าต่างๆ ในการใช้งานเพื่อให้ชิ้นงานออกมามีคุณภาพ)

การพยากรณ์และการตรวจจับความผิดปกติ (การป้องกันความเสียหายและอุบัติเหตุ)

การวัดความเสื่อมสภาพ

การตรวจสอบประจำวัน

การตรวจสอบตามคาบเวลา

กิจกรรมเพื่อฟื้นความเสื่อมสภาพ

การปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ (การเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เท่าที่ทำได้ และการแก้ไขจุดผิดปกติที่มีความเร่งด่วน)

รายงานความผิดปกติและความเสียหายทุกครั้งอย่างเร่งด่วนให้กับฝ่ายซ่อมบำรุง

ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือในการซ่อมแซมเครื่องจักรของฝ่ายซ่อมบำรุง

ทั้งหมดนี้เป็นการป้องกันความเสื่อมสภาพของเครื่องจักรที่เกิดจากการใช้งาน โดยการทำความสะอาด การหล่อลื่น และการขันแน่น รวมถึงการตรวจสอบประจำวัน และการตรวจสอบตามคาบเวลา โดยมีบางจุดที่ผู้ใช้เครื่องมีหน้าที่ดูแลความเสื่อมสภาพได้ด้วยตนเอง แต่สำหรับจุดใหญ่ๆ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุง
2. บทบาทของฝ่ายซ่อมบำรุง

กิจกรรมการบำรุงรักษาตามหน้าที่เดิมของฝ่ายซ่อมบำรุง

หน้าที่ดั้งเดิมของฝ่ายซ่อมบำรุง ก็คือ การใช้ความรู้ความสามารถที่มีมากกว่าผู้ใช้เครื่องในการบำรุงรักษาตามคาบเวลา บำรุงรักษาเชิงป้องกัน และบำรุงรักษาเชิงแก้ไขและ ปรับปรุง ทั้งนี้เพื่อการวัดความเสื่อมสภาพของเครื่องจักร และหาทางฟื้นความเสื่อมสภาพต่อไป ดังนั้นไม่ว่าจะมีกิจกรรมใดก็แล้วแต่ ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องไม่ลืมหน้าที่เดิมของตนเอง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความสามารถในการซ่อมบำรุง รวมถึงเพื่อพัฒนาความสามารถและความปลอดภัยในการใช้งาน

กิจกรรมส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

ดังที่กล่าวมาแล้ว หน้าที่ของผู้ใช้เครื่องในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง คือ การ ป้องกันความเสื่อมสภาพของเครื่องจักรเป็นสิ่งสำคัญ แต่การป้องกัน

ความเสื่อมสภาพดังกล่าวของผู้ใช้เครื่องจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือและชี้นำที่เหมาะสมจากฝ่ายซ่อมบำรุง โดยเฉพาะในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

ให้ความรู้และชี้แนะนำเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่และชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนเกินกว่า ผู้ใช้เครื่องจะถอดออกมาเองได้

ให้ความรู้และชี้แนะกี่ยวกับการจับยึดในจุดต่างๆ ของเครื่องจักร

ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการหล่อลื่นและสารหล่อลื่นประเภทต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการหล่อลื่น (ตำแหน่งที่ต้องหล่อลื่น ชนิดของสารหล่อลื่น ช่วงเวลาที่ต้องหล่อลื่น)

ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบ และมาตรฐานการตรวจสอบ

ให้การตอบสนองที่รวดเร็วหลังจากได้รับแจ้งเกี่ยวกับความผิดปกติและความเสื่อมสภาพต่างๆ ของเครื่องจักรจากผู้ใช้เครื่อง

ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีในการปรับปรุงวิธีการตรวจจับความผิดปกติ หรือการรับรู้ความผิดปกติ

ในการทำกิจกรรมดังกล่าวของฝ่ายซ่อมบำรุงต้องอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติในการทำงานร่วมกันกับผู้ใช้เครื่อง นอกจากนั้นฝ่ายซ่อมบำรุงยังมีกิจกรรมอื่นที่ต้องทำอีก ดังต่อไปนี้

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบำรุงรักษาและจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษา

บันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลทางด้านการบำรุงรักษา

ทำการค้นคว้าหาวิธีวิเคราะห์ความเสียหายของเครื่องจักรและวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุเพื่อหาทางป้องกันต่อไป

ประสานกับฝ่ายวิจัยและพัฒนาในการออกแบบเครื่องจักรอุปกรณ์โดยคำนึงถึงการบำรุงรักษา

การควบคุมอะไหล่ อุปกรณ์ช่วยในการผลิต และข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี

7 ขั้นตอนของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

ขั้นตอนของการบำรุงรักษาด้วยตนเองแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน โดยขั้นตอนทั้งหมดจะเริ่มต้นจากความเข้าใจแนวคิดและความสำคัญรวมถึงความจำเป็นที่ต้องทำการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

ขั้นต่อไปคือขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงที่เครื่องจักรอุปกรณ์ด้วยขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในขั้นตอนที่ 4 และขั้นตอนที่ 5 สุดท้ายคือขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพที่ทำงานด้วยขั้นตอนที่ 6 และขั้นตอนที่ 7

การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)

Pillar 1 - การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)


การปรับปรุงเฉพาะเรื่องเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตซึ่งเป็น 1 ใน 8 เสาหลักนั้น เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของฝ่ายการผลิตโดยมีฝ่ายอื่นคอยให้การสนับสนุนควบคู่ไปกับกิจกรรมบำรุงรักษาด้วยตนเองของพนักงานผู้ใช้เครื่อง ทั้งนี้เป็นการปรับปรุงเฉพาะเครื่องจักรต้นแบบก่อน จากนั้นจึงขยายการปรับปรุง เครื่องจักรไปยังเครื่องจักรอื่นๆ ทั่วทั้งโรงงาน

การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง ก็คือ การปรับปรุงเพื่อลด Loss แต่ละประเภทไปทีละเรื่องโดยเริ่มจาก Loss ที่มีผลต่อค่า OEE มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่สุด

การปรับปรุงเฉพาะเรื่องสามารถวัดผลได้โดยการดูจากค่า OEE หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การปรับปรุงเฉพาะเรื่องก็คือการปรับปรุงค่า OEE ของทีมเฉพาะกิจร่วมกับผู้ใช้เครื่องจักรนั่นเอง

การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

การปรับปรุงประสิทธิภาพ หมายถึง การทำให้ระบบการผลิตมีผลลัพธ์ออกมาให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลงหรือเรียกอีกอย่างว่า การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเพื่อเป็นการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น

การใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องจักร หรือการปรับปรุงอัตราการเดินเครื่อง

การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวิธีการทำงาน หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการเดินเครื่อง

การใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้วัตถุดิบ หรือการปรับปรุงอัตราคุณภาพ

การปรับปรุงอัตราการเดินเครื่อง ก็คือ การปรับปรุงเพื่อลด Loss ในกลุ่มที่ทำให้เครื่องจักรหยุด การปรับปรุงประสิทธิภาพการเดินเครื่อง ก็คือ การปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสียกลุ่มที่ทำให้เครื่องจักรเสียกำลัง และการปรับปรุงอัตราคุณภาพ ก็คือ การปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสียกลุ่มที่ทำให้เกิดของเสีย

การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ผู้ใช้เครื่องและฝ่ายซ่อมบำรุง โดยแบ่งเป็นกิจกรรมการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรุงรักษาด้วยตนเองและการบำรุงตามแผนตามลำดับ ซึ่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมทั้งสามแสดงไว้ในภาพ


จากภาพ จะเห็นได้ว่า หน้าที่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของกิจกรรมทั้งสามมีทั้งที่แยกจากกัน และทั้งที่ต้องทำร่วมกันตามพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

พื้นที่หมายเลข 1 คือ การปรับปรุงในส่วนที่เป็นการปรับปรุงเฉพาะเรื่องเพียงอย่างเดียว

พื้นที่หมายเลข 2 คือ การปรับปรุงในส่วนที่เป็นการบำรุงรักษาด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว

พื้นที่หมายเลข 3 คือ การปรับปรุงในส่วนที่เป็นการบำรุงรักษาตามแผนเพียงอย่างเดียว

พื้นที่หมายเลข 4 คือ การปรับปรุงที่ต้องทำร่วมกันในส่วนที่เป็นการปรับปรุงเฉพาะเรื่องและการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

พื้นที่หมายเลข 5 คือ การปรับปรุงที่ต้องทำร่วมกันในส่วนที่เป็นการบำรุงรักษาด้วยตนเองและการบำรุงรักษาตามแผน

พื้นที่หมายเลข 6 คือ การปรับปรุงที่ต้องทำร่วมกันในส่วนที่เป็นการปรับปรุงเฉพาะเรื่องและการบำรุงรักษาตามแผน

พื้นที่หมายเลข 7 คือ การปรับปรุงที่ต้องทำร่วมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรุงรักษาด้วยตนเอง และการบำรุงรักษาตามแผน

พื้นที่หมายเลข 8 คือ การปรับปรุงในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทั้งการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรักษาด้วยตนเอง และการบำรุงรักษาตามแผน เช่น กิจกรรมของฝ่ายบริหาร ฝ่ายขาย เป็นต้น

New Up Date

Manufacturing Idea © 2008 Template by Dicas Blogger.

TOPO